ข่าววิจัยและการประชุมวิชาการ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคลากรและนักศึกษาในสังกัดเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12
"Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving forward 2021"
วันที่ 15 มกราคม 2563
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพ

โดยสามารถส่งบทความวิจัย ภายในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563
ศึกษาข้อมูลรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์
http://www.conference.grad.ssru.ac.th/

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
Like: 

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี กำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 14
เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 116 ปี ในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 นี้ จึงได้จัด
การประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 14  ขึ้น ในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 โดยใช้ชื่อ “วิจัยนวัตกรรม สร้างสรรค์
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน” เพื่อให้นักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ได้เผยแพร่
ผลงานวิจัยสู่สาธารณชน และสร้างพื้นที่ให้นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ บัณฑิต และผู้สนใจได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้
จากแนวความคิดระดับท้องถิ่นและระดับชาติ โดยการนำเสนอแบบออนไลน์

ผู้สนใจสามารถส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอแบบออนไลน์ 2 รูปแบบ ได้แก่ ภาคบรรยาย และภาคโปสเตอร์ ผ่านทางระบบลง
ทะเบียนเข้าร่วมงานนำเสนอลงเว็บไซต์  http://www.research-conference.rbru.ac.th/ ภายในวันที่ 19 ตุลาคม 2563
(หรือจนกว่าจะครบ 80 บทความ) หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดได้ที่ นางสาวนิตยา ตันสาย หรือ นางสาวณัฐฐานี ดีซื่อ
เบอร์โทรศัพท์ 08-6440-2639

Like: 

………มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่
2 – 3 ธันวาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนภาคเอกชน
ได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สาธารณะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

………ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดที่ เว็บไซต์ http://esd.kps.ku.ac.th/kuk-conference/ หรือติดต่อ นางสาว
พรรณวิกา โชคพิกุลทอง ผู้ประสานงาน เบอร์ติดต่อ 034-341545 – 6 ต่อ 125 เบอร์มือถือ 092-2693377 และส่งผลงาน
เข้าร่วมภายในวันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2563 โดยข้าราชการ พนักงาน จากส่วนราชการต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับ
บัญชาแล้ว สามารถเข้าร่วมประชุมได้โดยไม่ถือเป็นวันลา และมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ตามระเบียบ

Like: 

ประกาศรายชื่อบทความวิจัยที่ผ่านการพิจารณาเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่3

Like: 

ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ และสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2563
(The 4th National Conference on Innovation for Learning and Invention 2020 : ILI 2020)

ด้วย กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 7 แห่ง ประกอบด้วย 1) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 2) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 3) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 4) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 5) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 6) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และ 7) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งมีภารกิจในการผลิตครูอาชีวศึกษาและพัฒนาคุณภาพของครูอาชีวศึกษาอย่างยั่งยืน เพื่อให้การบริหารจัดภารกิจดังกล่าวนี้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 7 แห่ง ให้บรรลุความสำเร็จตามยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครูอาชีวศึกษาของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาทักษะ และสมรรถนะของครูอาชีวศึกษาในด้านการวิจัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมได้กำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ และสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2563 (The 4th National Conference on Innovation for Learning and Invention 2020 : ILI 2020) ในวันพฤหัสบดี ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นการประชุมออนไลน์ผ่านแอพลิเคชั่น Zoom โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการให้อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวมทั้งผู้สนใจอื่น ๆ ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัย อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายวิจัยในอนาคตต่อไป

โดยการประชุมวิชาการระดับชาติฯ ในครั้งนี้ได้มีการแบ่งหัวข้อการประชุมออกเป็น ๖ กลุ่ม ได้แก่

1. นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ เป็นผลงานของอาจารย์ นักวิจัยที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเรียนการสอน
2. การวิจัยในชั้นเรียนทางอาชีวศึกษา/ การวิจัยเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาและอาชีพ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา หรือแก้ปัญหาผู้เรียนในชั้นเรียน
3. IT, ICT และ e-Learning เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อ IT, ICT และ e-Learning
4. ผลงาน Project นักเรียน/นักศึกษา เป็นชิ้นงาน หรือสื่อการเรียนการสอนที่นักเรียน นักศึกษาได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรระดับปวช. ปวส. และปริญญาตรี
5. ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) และ E-PLC เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาผู้เรียน
6. การวิจัยทางการศึกษา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ท่านที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Website : www.ili.rmutt.ac.th

Like: 

           ตามที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยเป็นประจำทุกปีนั้น สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อให้การเสนอของบประมาณอุดหนุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นไปตามกำหนดระยะเวลาของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จึงเห็นสมควรเปิดรับข้อเสนอการวิจัยจากงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ประเภททุนวิจัยพื้นฐาน Basic Research Fund (Blue Sky) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้

     1. หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอการวิจัย
1.1 ข้อเสนอการวิจัยที่มีความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) พ.ศ. 2563-2570 โดยรายละเอียดให้เป็นไปตามสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กำหนด โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Objectives and Key Results: OKR) ตามยุทธศาสตร์ อววน. ในแพลตฟอร์มที่ 1 การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง
1.2 ข้อเสนอการวิจัยที่มีความสอดคล้องกับกรอบทิศทาง(Framework) ของมหาวิทยาลัยฯที่ตอบสนองนโยบายของภาครัฐตามบริบทพื้นที่ สงขลา ตรัง และนครศรีธรรมราช
1.3 ระยะเวลาดำเนินงานวิจัย 1-3 ปี หากเป็นโครงการต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี นักวิจัยต้องแสดงให้เห็น
เป้าหมายสุดท้าย (End Goal) และมีเส้นทางไปถึงเป้าหมายรายปี (Milestone) แสดงไว้อย่างชัดเจน และต้องส่งผลผลิตการวิจัยให้มหาวิทยาลัยฯ เป็นรายปี
1.4 ผู้ร่วมวิจัย ที่มีสถานะดำเนินการไม่แล้วเสร็จปรากฏอยู่ในระบบสารสนเทศงานวิจัย (RISS) และระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) และข้อมูลการติดค้างงานวิจัยก่อนมีระบบ RISS และ NRIIS จะมีผลต่อการจัดลำดับความสำคัญข้อเสนอการวิจัย
ทั้งนี้ไม่นับรวมโครงการที่อยู่ในช่วงระยะเวลาทำการวิจัยหรือโครงการขยายเวลาทำการวิจัย
1.5 การจัดทำงบประมาณ มีความถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเงินและพัสดุ และวงเงินงบประมาณมีความเหมาะสมกับแผนการดำเนินงานวิจัย
1.6 ข้อเสนอการวิจัยที่เสนอต้องไม่เป็นโครงการที่เคยได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนอื่น หรือไม่เป็นข้อเสนอการวิจัยที่กำลังเสนอขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนอื่น
1.7 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ ที่ สกสว.หรือแหล่งทุนกำหนด

     2. เป้าหมายของผลผลิตการวิจัย (Output) และงบประมาณสนับสนุน ให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยฯ เรื่อง การติดตามประเมินผล การส่งรายงานฉบับสมบูรณ์และผลผลิตจากงานวิจัย พ.ศ. 2561

     3. คุณสมบัติของผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัย และหัวหน้าโครงการวิจัยเดี่ยวหรือย่อย

3.1 เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่ปฏิบัติหน้าที่สายวิชาการ
    กรณีบุคลากรมีกำหนดเกษียณอายุราชการก่อนการดำเนินงานวิจัยเสร็จสิ้นตามแผน จะต้องมีแผนบริหารงานวิจัยให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาก่อนเกษียณอายุราชการ โดยแนบหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัย หรือหัวหน้าโครงการวิจัย/หัวหน้าโครงการย่อยภายใต้แผนแทน เพื่อดำเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จ
    กรณีเป็นอาจารย์อัตราจ้างให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงาน โดยแนบหนังสือรับรองจากหัวหน้าหน่วยงาน
3.2 ไม่อยู่ในระหว่างลาศึกษาต่อ หรือมีแผนที่จะลาศึกษาต่อ หรือลาฝึกอบรมเกินกว่า 6 เดือน
3.3 ไม่เป็นผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัยหรือหัวหน้าโครงการย่อย ที่ผิดสัญญารับทุนของมหาวิทยาลัยฯ หรือการค้างส่งงานวิจัย ตามประกาศมหาวิทยาลัยฯ ที่มีสถานะดำเนินการไม่แล้วเสร็จปรากฏอยู่ในระบบ RISS และ NRIIS รวมถึงข้อมูลการติดค้างงานวิจัยก่อนมีระบบ RISS และ NRIIS
     กรณีการพิจารณาการค้างส่งงานวิจัย ของผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัยหรือหัวหน้าโครงการวิจัย/หัวหน้าโครงการย่อยภายใต้แผนงาน ที่รับทุนสนับสนุน ประจำปี พ.ศ.2562 จะพิจารณาสถานะการติดค้าง ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2563 (สิ้นสุดการขยายเวลาโครงการวิจัย) ตามประกาศมหาวิทยาลัยฯ เรื่อง การติดตามประเมินผล การส่งรายงานฉบับสมบูรณ์และผลผลิตจากงานวิจัย พ.ศ. 2561
3.4 ไม่เป็นผู้ที่เคยผิดจรรยาบรรณนักวิจัย

     4. ประเภททุนวิจัยที่ให้การสนับสนุน ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ประเภททุนวิจัยพื้นฐาน Basic Research Fund (Blue Sky) โดยแบ่งเป็นประเภทโครงการวิจัยดังนี้
4.1 โครงการวิจัยเดี่ยว กรอบสนับสนุนการวิจัย ไม่เกินร้อยละ 20 ของกรอบวงเงินที่สนับสนุนประจำปี 2565 เพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยเดี่ยวที่มีเป้าหมายการวิจัยตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1  
4.2 ชุดโครงการวิจัย กรอบสนับสนุนการวิจัย ไม่เกินร้อยละ 80 ของกรอบวงเงินที่สนับสนุนประจำปี 2565 เพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มกันทำวิจัยในลักษณะชุดโครงการวิจัยที่มีเป้าหมายการวิจัยตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1
4.3 แผนงานวิจัยระดับหน่วยงาน กรอบสนับสนุนการวิจัย ไม่เกินร้อยละ 15 ของกรอบวงเงินที่สนับสนุนประจำปี 2565 เพื่อสนับสนุนการวิจัยที่เป็นประเด็นสำคัญของคณะ/วิทยาลัย ในลักษณะชุดโครงการวิจัยที่มีเป้าหมายการวิจัยตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 และ เป้าหมายการวิจัยตามแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
4.4 แผนงานวิจัยระดับหน่วยวิจัย (Research Unit : RU) กรอบสนับสนุนการวิจัย ไม่เกินร้อยละ 15 ของกรอบวงเงินที่สนับสนุนประจำปี 2565 เพื่อสนับสนุนการวิจัยของหน่วย ในลักษณะชุดโครงการวิจัยที่มีเป้าหมายการวิจัยตามหลักเกณฑ์ในข้อ 1 และสามารถตอบตัวชี้วัดตามเป้าหมายการจัดตั้งหน่วยวิจัย

     5. การจัดทำรายละเอียดข้อเสนอการวิจัยและการส่งข้อเสนอการวิจัย (Download แบบฟอร์มตามลิ้งด้านล่าง)
5.1 การรวบรวมข้อเสนอการวิจัยก่อนส่งให้ สกสว. ตามรายละเอียดดังนี้
5.1.1 นักวิจัย จัดส่งรายละเอียดข้อเสนอการวิจัย ตามฟอร์มที่สถาบันวิจัยและพัฒนากำหนด ผ่านหน่วยงานต้นสังกัดตามรายละเอียดดังนี้
ก. ข้อเสนอการวิจัยเชิงหลักการ (Concept Proposal) จำนวน 1 ชุด ภายในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2563
ข. ข้อเสนอการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full Proposal) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ชุด ภายในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2563
5.1.2 คณะ / วิทยาลัย รวบรวมข้อเสนอการวิจัย ในข้อ 5.1.1 ส่งถึงสถาบันวิจัยและพัฒนาภายในระยะเวลากำหนด พร้อมแบบบัญชีรายชื่อข้อเสนอการวิจัยระดับคณะ/วิทยาลัย แบบ บช-3 จำนวน 1 ชุด
5.2 การส่งข้อเสนอการวิจัยให้ สกสว. ตามรายละเอียดดังนี้
5.2.1 สถาบันวิจัยและพัฒนา รวบรวมข้อเสนอการวิจัยที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการตามข้อ 5.1  แจ้งผลให้หน่วยงานทราบและจัดส่งข้อเสนอการวิจัยให้ สกสว. ส่วนรายละเอียดการจัดส่งจะแจ้งให้ทราบต่อไป เมื่อ สกสว. ประกาศให้มหาวิทยาลัยทราบ
5.2.2 ผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัยหรือหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย ที่ขาดคุณสมบัติตามข้อ 3.3 ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2563 หรือไม่ส่งรายละเอียดข้อเสนอการวิจัยตามข้อ 5 สถาบันวิจัยและพัฒนาขอระงับสิทธิ์การส่งข้อมูลให้ สกสว. ทุกกรณี
กรณีโครงการต่อเนื่องที่จะได้รับการสนับสนุนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้ดำเนินการจัดส่งข้อเสนอการวิจัยตามข้อ 5.2.1 พร้อมรายงานความก้าวหน้าจำนวน 1 ชุด ตามแบบ ต-1ช/ด

     6. ขั้นตอนการพิจารณาข้อเสนอการวิจัย
6.1 มหาวิทยาลัยฯ แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาข้อเสนอการวิจัยและจัดลำดับความสำคัญ ตามหลักเกณฑ์และคุณสมบัติตามประกาศนี้
6.2 มหาวิทยาลัยฯ จัดส่งข้อเสนอการวิจัยให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ตามระยะเวลา และรายละเอียดที่กำหนด

                  ประกาศ  ณ  วันที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563

                                    (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุเทพ  ชูกลิ่น)
                                      รองอธิการบดี รักษาราชการแทน
                                อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

Like: 

ตามที่หน่วยงานและจัดการบริหารทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดสรรทุนด้านการพัฒนากำลังคนในสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนโยบายของรัฐบาล รวมถึงการให้ทุนการศึกษา ด้านการพัฒนาโครงการพื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการบริหารแผนงานการยกระดับคุณภาพและสมรรถนะของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ด้วยมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ภายใต้โปรแกรมส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้าและการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพและแผนงาน Frontier research และการพัฒนาระบบการสร้างความสามารถเพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ภายใต้โปรแกรมการแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ

          ในการนี้ บพค. ได้เปิดรับข้อเสนอแผนงาน/โครงการวิจัยต่อ 2 แผนงาน ได้แก่

1. แผนงานการยกระดับคุณภาพและสมรรถภาพของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ด้วยมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์  click

2. การพัฒนาองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขั้นแนวหน้าด้านศักยภาพในการแพร่ของไวรัสที่อาจก่อโรคจากสัตว์สู่คน
แผนงาน Frontier Research และการพัฒนาระบบการสร้างความสามารถเพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ภายใต้โปรแกรม การแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ (P17) click

ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน – 23 กรกฎาคม 2563 โดยท่านสามารถพิจารณารายละเอียดได้ที่ https://www.nxpo.or.th

 

Like: 

 

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)

เรื่อง  ทุนอุดหนุนโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓

ตามที่เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่าง ได้ประสานการจัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก แก่สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่าง จำนวน ๑๓ สถาบัน โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) นั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในนามประธานเครือข่ายบริหารงานวิจัย (C) จึงเห็นสมควรออกประกาศ เรื่อง ทุนอุดหนุนโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับทุนอุดหนุนโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ตามข้อกำหนดโครงการ (TOR) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ดังนี้

๑. วัตถุประสงค์ของโครงการ

          ๑.๑ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากผลงานวิจัยไปสู่ชุมชนเพื่อสร้างหรือเพิ่มความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

          ๑.๒ เพื่อสร้างความเข้มแข็งไห้คณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา รวมถึงสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ให้สามารถสร้างผลงานวิจัยรับใช้สังคม ชุมชน และท้องถิ่น

          ๑.๓ เพื่อส่งเสริมกลไกความร่วมมือในระบบเครือข่ายการวิจัยระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ชุมชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานระดับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

๒. เงื่อนไขและขอบเขตการดำเนินงาน

          เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้างต้น จึงกำหนดเงื่อนไขและกรอบแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

          ๒.๑ กรอบงานวิจัย

          (๑) ด้านเกษตรกรรมและอาหาร

          (๒) ด้านสุขภาวะและผู้สูงอายุ

          (๓) ด้านวิสาหกิจชุมชน

          (๔) ด้านการท่องเที่ยวและบริการที่มีมูลค่าสูง

          (๕) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          (๖) ด้านการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างสรรค์การเรียนรู้

          ๒.๒ เป็นโครงการวิจัยเดี่ยว/ชุดโครงการ

          (๑) โครงการวิจัยเดี่ยว เป็นโครงการที่มาจากประเด็นความต้องการของชุมชนและตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากอย่างแท้จริง

          (๒) ชุดโครงการ ต้องแสดงให้เห็นการกำหนดเป้าหมายสุดท้ายที่ชัดเจนของโครงการว่าในระยะที่ ๓ เมื่อสิ้นสุดโครงการ โครงการจะนำความสำเร็จอะไรมาให้หรือโครงการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องใด หรือโครงการสร้างสิ่งใดให้เกิดในพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย โดยระยะที่ ๑ โครงการต้องระบุชัดเจนว่าจะส่งมอบงานอะไร ระยะที่ ๒ โครงการต้องแสดงให้เห็นว่ามีการดำเนินการอย่างไรที่ทำให้ขยับไปใกล้เป้าหมายมากขึ้น ทั้งนี้ โครงการต้องระบุ KPI แต่ละระยะให้ชัดเจน

         (๓) แต่ละชุดโครงการวิจัยต้องมีนักวิจัยที่มาจากสถาบันอุดมศึกษาอย่างน้อย ๒ สถาบันหรือเป็นนักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาร่วมกับผู้ร่วมวิจัยจากชุมชน/หน่วยงานท้องถิ่น เข้าร่วมโครงการทั้งนี้หัวหน้าโครงการวิจัยต้องมาจากสถาบันอุดมศึกษาและมีผู้จัดการโครงการ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการวิจัยในลักษณะ Program based และชุดโครงการต้องมีเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจน เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมหรือสิ่งแวดล้อมตามเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดโครงการ

          (๔) โครงการ/ชุดโครงการ ที่ได้รับงบประมาณสมทบจากแหล่งอื่นจะได้รับการพิจารณาในลำดับต้น

          (๕) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้จากโครงการวิจัยนี้ ให้เป็นสิทธิร่วมกันของผู้ให้ทุนตามสัดส่วนของจำนวนเงินที่ผู้ให้ทุนแต่ละฝ่ายได้จ่ายเงินและ/หรือทรัพย์สินให้กับสถาบันอุดมศึกษาผู้รับทุนจริงตามสัญญาโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอมอบสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นจาโครงการวิจัยให้กับสถาบันอุดมศึกษาผู้รับทุน

 

๓. เกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกโครงการ

           ๓.๑ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๗๙) ตลอดจนนโยบายประเทศไทย ๔.๐ และยุทธศาสตร์ของจังหวัด (ภายใต้กรอบการวิจัย ๖ ด้าน)

           ๓.๒ เป็นโครงการที่มีชุมชน/ท้องถิ่น หรือองค์กรปกครองท้องถิ่น/หน่วยงานในระดับจังหวัดเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ชุดโครงการวิจัย และ/หรือโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม/สมทบจากแหล่งอื่น เช่น งบประมาณจากจังหวัดจะได้รับการพิจารณาเป็นลำดับต้น

          ๓.๓ เป็นโครงการที่มีแผนการดำเนินงานและมีตัวชี้วัดชัดเจน และมีความสอดคล้องของกิจกรรมในโครงการ ระยะเวลา และงบประมาณในภาพรวม

         ๓.๔ เป็นโครงการที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน/ท้องถิ่น/หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ โดยผลผลิตการวิจัย (Output) สามารถก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือทางสังคม และ/หรือสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนหรือผู้เข้าร่วมโครงการได้

 

๔. คุณสมบัติของหัวหน้าโครงการวิจัย

          ๔.๑ เป็นบุคลากรประจำของมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายการวิจัยภาคใต้ตอนล่าง       

          ๔.๒ ไม่เป็นผู้ติดค้างการส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ของโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก         

ทั้งนี้คณะทำงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมในโครงการวิจัย ทั้งในฐานะที่ปรึกษาโครงการ หัวหน้าโครงการ หรือผู้ร่วมวิจัย

 

. ลักษณะของโครงการที่ให้ความสนับสนุน

          ๕.๑ มีลักษณะเป็นโครงการเดี่ยว (Research Program) โดยจะต้องมีสถาบันภายในเครือข่ายการวิจัยภาคใต้ตอนล่างร่วมตั้งแต่ ๒ สถาบันการศึกษาขึ้นไป หรือชุดโครงการวิจัย เป็นการศึกษาวิจัยแบบสายโซ่คุณค่า (Value chain) ที่แสดงผลการดำเนินงานงานตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

          ๕.๒ ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ ทั้งนี้จะต้องมีหนังสือยืนยันการเข้าร่วมโครงการจากหน่วยงานในชุมชน/ท้องถิ่นที่ร่วมโครงการ ประกอบ

          ๕.๓ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙) ตลอดจนนโยบายประเทศ ๔.๐ และยุทธศาสตร์ของจังหวัด (ภายใต้กรอบวิจัย ๖ ด้าน)

          ๕.๔ ระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับทุนต้องดำเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๔ เดือน นับตั้งแต่วันลงนามในสัญญารับทุน และสามารถขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละ ๖ เดือน โดยต้องมีหนังสือขอขยายเวลาไปยังประธานเครือข่ายบริหารงานวิจัย (C) ล่วงหน้าอย่างน้อย ๔๕ วัน ก่อนครบกำหนดตามสัญญา

          ๕.๕ การนำเสนอชุดโครงการวิจัยมุ่งเน้นการดำเนินโครงการวิจัยที่เป็น Issue based หรือ Area based ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์จังหวัด และ/หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

 

. วิธีการเสนอโครงการวิจัยฯเพื่อขอรับทุน

          ๖.๑ หัวหน้าโครงการวิจัย เป็นผู้เสนอโครงการโดยเสนอผ่านความเห็นชอบจากสถาบันวิจัย/หน่วยงาน
ที่รับผิดชอบด้านการวิจัยของสถาบันต้นสังกัดและผ่านการประเมินขั้นต้นจากหน่วยงานต้นสังกัด

          ๖.๒ โครงการวิจัยจะต้องลงลายมือชื่อจริงหัวหน้าโครงการวิจัย และผู้ร่วมวิจัยทุกคน

 

. การจัดทำรายละเอียดโครงการและกำหนดเวลาเสนอโครงการวิจัย

          จัดทำรายละเอียดโครงการวิจัยฯ ตามแบบฟอร์มเสนอโครงการวิจัยโดยสามารถ download ได้จาก คลิ๊ก download โดยผู้ที่สนใจสามารถส่งข้อเสนอโครงการวิจัย (Full Proposal) ได้ทาง E-mail ruts.trang@gmail.com ในรูปแบบไฟล์ word และ PDF ภายในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ทั้งนี้โครงการที่ได้รับหลังกำหนดเวลาดังกล่าวจะไม่ได้รับการพิจารณา (ถือวันที่ปรากฏใน E-mail)

. งบประมาณโครงการ

          โครงการเดี่ยว : สนับสนุนโครงการละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐   บาท

          ชุดโครงการ   : สนับสนุนชุดโครงการละไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

. การจ่ายเงินอุดหนุนโครงการ

          การรายงานผลการดำเนินการ การประเมินผลการดำเนินการ และการเก็บหลักฐาน
การใช้จ่ายเงินโครงการ ให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับทุนอุดหนุนโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากเครือข่ายการวิจัยภาคใต้ตอนล่าง

๑๐. การเผยแพร่ผลการวิจัย

          ทั้งในลักษณะเป็นรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์หรือเผยแพร่ในลักษณะอื่น ๆ ให้ระบุข้อความว่า “ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเครือข่ายการวิจัยภาคใต้ตอนล่าง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓” ในกิตติกรรมประกาศหรือที่อื่นใดตามความเหมาะสม


คลิ๊ก download แบบฟอร์มต่างๆ สำหรับยื่นข้อเสนอขอรับทุน

 

 

Like: 

ตามที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้เสนอขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ.2563 ไปยังสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นั้น   ในการนี้ มหาวิทยาลัยฯ ขอประกาศผลการคัดเลือกข้อเสนอการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน รายละเอียดตามไฟล์แนบ

Like: 

Pages