ข่าววิจัยและการประชุมวิชาการ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
 

ฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (หลักสูตร 5 องค์ประกอบ) รุ่นที่ 2/2563

วันที่ 16-19 มิถุนายน 2563

ณ หอประชุมพันตรีเพียร จรรย์สืบศรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

ข้อมูลที่พัก

​ที่พักที่ใกล้มหาวิทยาลัย(สถานที่จัดโครงการ)


 

Like: 

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กำหนดจัดการประชุมและนำเสนอผลงานวิจัยในโครงการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 ในวัน ศุกร์ ที่ 17 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.hu.ac.th/conference/ สอบถามเพิ่มเติมโทร.0-7420-0347

Like: 

สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น ขอเชิญเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการระดับชาติและการประชุมวิชาการระหว่างประเทศ “การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 และการประชุมวิชาการระหว่างประเทศ งานวิจัยด้านธุรกิจ และอุตสาหกรรม ครั้งที่ 6” (TNIAC) และ (ICBIR) ในระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤษภาคม 2563 ณ สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น ติตตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://tniac.tni.ac.th/ และ http://icbir.tni.ac.th/

Like: 

ขอเชิญส่งบทคัดย่อเพือ่พิจารณาเข้าร่วมนำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 10

ประเด็น "มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติกับการพัฒนานวัตกรรมสู่อุตสาหกรรมกีฬา"

(Thailand National Sports University and Innovation Development for Sport Industry)

ระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน 2563 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน พัทยา

ส่งบทคัดย่อภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tnsuconference.com

Like: 

ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาศาตร์ได้จัดประชุมวิชาการสถิติประยุกต์ ระดับชาติ ประจำปี ๒๕๖๓ หัวข้อ "Statistical Challenges in Data-Driven Disruption" ระหว่างวันที่ ๔-๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. ณ โรงแรมดิเอ็มเรส อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักสถิติ นิสิต/นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป จากสถาบันการศึกษาภายในและต่างประเทศ บุคลากรภาครัฐและเอกชน สามารถดูรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์ http://www.cmustat.com/stat2019/index.html หรือหากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยลัยเชียงใหม่

Like: 

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (ระบบ NRMS) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓" ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.nrms.go.th/

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (ระบบ NRMS) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓"

หลักการและเหตุผล

         สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System: NRMS) ที่ครอบคลุมการบริหารจัดการงบประมาณและงานวิจัยของหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานแหล่งทุน และหน่วยงานอื่น ๆ  ระบบ NRMS ประกอบด้วย ระบบประเมินข้อเสนอการวิจัย (Proposal assessment) ระบบดำเนินการและติดตามงานวิจัย (Ongoing & monitoring)  ระบบประเมินผลงานวิจัย  (Research evaluation) และระบบฐานข้อมูลนักวิจัย

         ระบบ NRMS ได้เปิดใช้งานครบทุกระบบงานและมีการดำเนินการบริหารจัดการข้อมูลวิจัย งบประมาณการวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐผ่านระบบ NRMS มาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายมุ่งเน้นให้มีการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม ระบบ NRMS จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการทำงานตามกลไกการดำเนินงานภายใต้การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรม และเพื่อให้นักวิจัยเข้าใจกระบวนการทำงานและสามารถบริหารจัดการข้อมูลผ่านระบบ NRMS ได้ถูกต้องและครบถ้วน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นสมควรจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานระบบดังกล่าว ให้นักวิจัยรับทราบกระบวนการทำงานของระบบ รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพต่อไป
 

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้นักวิจัยเรียนรู้การใช้ระบบ Proposal assessment ระบบOngoing & monitoring และระบบ Research evaluation 

๒. เพื่อให้นักวิจัยเรียนรู้การรายงานการติดตามงบประมาณบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม ผ่านระบบ NRMS

๓. เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 

ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ

- นักวิจัย ครั้งละประมาณ ๓๖ คน

- นักวิจัยควรจะนำข้อมูลโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ หรือโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๖๒ ในรูปแบบ digital มาด้วยเพื่อนำเข้าระบบ Ongoing & monitoring และ Research evaluation
 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.  นักวิจัยได้เรียนรู้กระบวนการทำงานของระบบ NRMS และสามารถกรอกข้อมูลรายละเอียดการติดตามโครงการ/กิจกรรมและผลสำเร็จของการดำเนินงานวิจัยเข้าสู่ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (ระบบ NRMS) ได้ถูกต้อง

๒.  นักวิจัยได้รับทราบและสามารถรายงานแผนการดำเนินงานและแนวทางการติดตามงบประมาณบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ และ ๒๕๖๒
 

หมายเหตุ :  เปิดรับจำนวนไม่เกินหน่วยงานละ ๓ คน/การอบรมแต่ละครั้ง (จะขอยกเลิกสิทธิ์ท่านที่ ๔ เป็นต้นไป)

ระยะเวลาและสถานที่จัดอบรม  

        ครั้งที่ ๑  วันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๓  ลงทะเบียนที่นี่

        ครั้งที่ ๒  วันศุกร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๓  ลงทะเบียนที่นี่      

        ครั้งที่ ๓  วันศุกร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓  ลงทะเบียนที่นี่ 

        ครั้งที่ ๔  วันศุกร์ที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๓  ลงทะเบียนที่นี่ 

        ครั้งที่ ๕  วันศุกร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓  ลงทะเบียนที่นี่ 

        ครั้งที่ ๖  วันศุกร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓  ลงทะเบียนที่นี่ 

        ครั้งที่ ๗ วันศุกร์ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๓  ลงทะเบียนที่นี่ 

        ครั้งที่ ๘  วันศุกร์ที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓  ลงทะเบียนที่นี่ 

        ครั้งที่ ๙  วันศุกร์ที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓  ลงทะเบียนที่นี่ 

        ครั้งที่ ๑๐ วันศุกร์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๓  ลงทะเบียนที่นี่ 


สถานที่ : ณ ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ อาคาร วช. ๓ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางกนกพร  เกิดเอนก , นางสาวแพรวพรรณ  เดื่อไธสง

กองมาตรฐานการวิจัย  สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

โทร : ๐๒-๕๗๙-๑๓๗๐ ต่อ ๖๐๗, ๖๑๗, ๖๑๙, ๐๒-๙๔๐-๖๕๐๑

โทรสาร : ๐๒-๙๔๐-๖๕๐๑, ๐๒-๕๗๙-๐๕๙๓

ดาวน์โหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้อง :
โครงการและกำหนดการ อบรม nrms ปี 63_OnWeb.pdf
จดหมายเชิญหน่วยงาน ปี 63_OnWeb.pdf
Like: 

การเสนอของบประมาณ ด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564

 


 
การเสนอของบประมาณ ด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564

-เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
-เว็บไซต์ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
-เว็บไซต์ ระบบบริหารงานวิจัยแห่งชาติ NRMS

 

เปิดรับข้อเสนอโครงการ flagship ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 ธันวาคม 2562 (23.59 น.) ผ่านระบบ NRMS
  • แผนงานสำคัญ (Flagship) ปีงบประมำณ 2563 (Download)
  • Flagship PMU B – Industrial-postdoc (Download)
  • Flagship PMU B – Social-and-humanity-frontier (Download)
  • Flagship PMU B – Quantum-Research-Frontier (Download)
  • Flagship PMU B – Frontier-Research-Seed-Fund (Download)
  • Flagship PMU C – BCG in Action (Download)
  • Flagship PMU สวรส – BCG in Action (Genomic Medicine) (Download)
  • ข้อเสนอ BCG in Action: The New Sustainable Growth Engine (Download)
  • แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อของบประมาณ Flagship (Download)

 

 

 

  •  
  • นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และ แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565 (Download)
  • นโยบายและยุทธศาสตร์ อววน พ.ศ. 2563-2565 (Platform/Program/Objective/Key result) (Download)
  • แนวทางการเสนอของบประมาณงบประมาณด้าน ววน ประจำปี 2564 (PPT) (Download)
  • คู่มือการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย Concept Proposal ปีงบประมาณ 2564 (Download)
  • กรอบวิจัย ววน. ของ บพท. (PMU A) (Download)
  • กรอบวิจัย ววน. ของ บพค. (PMU ฺB) (Download)
  • กรอบวิจัย ววน. ของ บพข. (PMU C) (Download)
  • กรอบวิจัย ววน. ของ สวรส (Download)
  • กรอบวิจัย ววน. ของ วช. (Download)
  • กรอบวิจัย ววน. ของ สวก. (Download)
  • แบบฟอร์มข้อเสนอเชิงหลักการ (Concept Proposal) ปี 2564 (pdf) / (docx)
  • Flagship PMU B – Industrial-postdoc (Download)
  • Flagship PMU B – Social-and-humanity-frontier (Download)
  • Flagship PMU B – Quantum-Research-Frontier (Download)
  • Flagship PMU B – Frontier-Research-Seed-Fund (Download)
  • แผนงานสำคัญ (Flagship) ปีงบประมำณ 2563 (Download)


 

ทุนวิจัยตามกรอบงบประมาณ ววน. ปีงบประมาณ 2564 แบ่งประเด็นและสัดส่วนงบประมาณเป็น 3 ส่วน คือ

 

  • ทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund)
  • 1.Basic Research Fund & Institutional Capacity Building Fund (Blue Sky) ที่สนับสนุนทุนแก่โครงการงานวิจัยพื้นฐาน และสร้างความเข้มแข็งของงานวิจัยและการบริหารงานวิจัยของสถาบันความรู้และสถาบันวิจัยในหน่วยงาน (สัดส่วน 15 %) เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยเบื้องต้นจากสถาบันอุดมศึกษา
    2.Basic Function Fund เป็นการจัดสรรงบประมาณตรงไปยังหน่วยงานที่มีภารกิจเฉพาะด้าน ววน. และดำเนินการตามพันธกิจของตนเอง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้าน ววน. ระดับชาติ และโครงการริเริ่มสำคัญของประเทศ (สัดส่วน 35 %) เปิดรับคำของบประมาณจากหน่วยงานในระบบ ววน. ที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา
  • ทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund)

  • เป็นลักษณะ Competitive Funding ที่สนับสนุนทุนแก่หน่วยงานระดับปฏิบัติโดยต้องเป็นการทำวิจัยที่เน้นตอบยุทธศาสตร์และแผนด้าน ววน. ของประเทศ (สัดส่วน 50 %) จัดทำคำของบประมาณโดย Program Management Unit (PMU) ซึ่ง PMU จะเป็นผู้เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย/ชุดโครงการวิจัย จากสถาบันการศึกษา/หน่วยงานที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา และนักวิจัยที่สอดคล้องกับแผน ววน. ตาม Program ที่รับผิดชอบ รวมทั้งพัฒนาข้อเสนอโครงการร่วมกับ Consortium (Quadruple Helix)

  •  


“พีเอ็มยู” (PMU มาจากคำว่า Program Management Unit) เป็นกลไกสำคัญในการบริหารงบประมาณวิจัยด้าน ววน. โดยหน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม “7 พีเอ็มยู : หน่วยหนุนทุนวิจัย” ประกอบด้วย

1) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
2) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
3) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน (สวก.)
4) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)
นอกจากนี้ยังมี 3 หน่วยบริหารและจัดการทุนในระบบ ววน. ที่ดำเนินการภายใต้ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประกอบด้วย
5) PMU “A” มาจาก Area – based หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
6) PMU “B” มาจาก Brain Power, manpower หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และสร้างนวัตกรรม (บพค.)
7) PMU “C” มาจาก Competitiveness หรือ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

      โดยทั้ง 7 PMU จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานจัดการทุนวิจัย และการติดตามและประเมินผลงานวิจัย ซึ่งได้จัดแบ่งสัดส่วนความรับผิดชอบในแต่ละโปรแกรม ดังนี้

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้หารือถึงแนวทางการทำงานออกแบบการสนับสนุนงบประมาณวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้เป็นไปตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ สอดรับกับ “นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570” อันประกอบไปด้วย 4 แพลตฟอร์ม 16 โปรแกรม จำแนกเป็นแต่ละ Objective และ Key Result (รายละเอียดดังแนบ)


การเสนอของบประมาณ ววน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

  1. การ Re-submit Proposal (สำหรับชุดโครงการวิจัย/โครงการวิจัย (เดิม) ที่ได้รับพิจารณาระดับ 4-5 ดาว)
  2. การเสนอของบประมาณแผนงานสำคัญ (Flagship) ของยุทธศาสตร์และแผน อววน. ของประเทศ

   **ทั้งนี้การเสนอของบประมาณ ววน. ในลักษณะแผนงานสำคัญ (Flagship) อาจจะมีการประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยบางหัวข้อ อย่างไรก็ตามอยู่ระหว่างการเตรียมการจาก PMU ซึ่งจะนำเรียนแจ้งให้ทราบในลำดับต่อไป**

แผนงานสำคัญ (Flagship)

1. Industrial post doc (โครงการสนับสนุนการทำวิจัยและนวัตกรรมระดับหลังปริญญาเอก หลังปริญญาโท และบัณฑิตศึกษารองรับอุตสาหกรรยุทธศาสตร์)
2. AI for All (โครงการปัญญาประดิษฐ์สำหรับทุกคน)
3. Genomics (โครงการสนับสนุนแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย)
4. Quantum Research (แผนงานสร้างโอกาสและความสามารถในการเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีควอนตัม)
5. Space Consortium (โครงการการร่วมพัฒนาดาวเทียมเพื่อการวิจัยอวกาศแห่งชาติ)
6. Frontier Research Seed Fund (ข้อริเริ่มการวิจัยขั้นแนวหน้าประเทศไทย)
7. Social and humanity Frontier Research (แผนการยกระดับคุณภาพและสมรรถภาพของทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ด้วยมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปศาสตร์)
8. Zero Waste Thailand (ประเทศไทยไร้ขยะ)
9. PM2.5
10. Smart Farming
11. การบริหารจัดการน้ำ (การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการความมั่นคงทางด้านน้ำ (Water security))
12. Thailand Aging Society (แผนงานสังคมไทยบริบทสังคมสูงวัย)
13. Open Society Social Change (โครงการชุดวิจัยนโยบายสันติประชาธรรมเพื่อการสร้างสังคมเปิด)
14. ความปลอดภัยทางถนน (แผนงานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลกด้านความปลอดภัยทางถนน)
15. Tech Localization (การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์)
16. PPP-RDI (แผนการดำเนินงานโครงการ Public-Private Partnership for RDI ประจำปีงบประมาณ 2563)
17. อุทยานวิทยาศาสตร์ (โครงการการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และโครงการการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาค ด้วยองค์ความรู้ ภูมิปัญญาและนวัตกรรม
18. BCG in Action (แผนงาน BCG in Action ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
19. Social Innovation (โครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน)
20. ชุมชนนวัตกรรม
21. อาสาประชารัฐ
22. University for Inclusive Growth program: UNG (กลุ่ม มทร. ขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่)
23. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (แผนงานพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา Education Sandbox)
24. Future Lab (โครงการห้องปฏิบัติการอนาคตด้านนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
25. Deep-Science Technological Innovation Platform (แพลตฟอร์มบ่มเพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม)
26. Global Partnership Fund
27. ฐานข้อมูลวิจัย (บุคลากรวิจัยและนวัตกรรม ทุนวิจัย ผลงานวิจัย ฯลฯ)

 


 
การเสนอของบประมาณ ด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564

-เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
-เว็บไซต์ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
-เว็บไซต์ ระบบบริหารงานวิจัยแห่งชาติ NRMS

 

เปิดรับข้อเสนอโครงการ flagship ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 ธันวาคม 2562 (23.59 น.) ผ่านระบบ NRMS
  • แผนงานสำคัญ (Flagship) ปีงบประมำณ 2563 (Download)
  • Flagship PMU B – Industrial-postdoc (Download)
  • Flagship PMU B – Social-and-humanity-frontier (Download)
  • Flagship PMU B – Quantum-Research-Frontier (Download)
  • Flagship PMU B – Frontier-Research-Seed-Fund (Download)
  • Flagship PMU C – BCG in Action (Download)
  • Flagship PMU สวรส – BCG in Action (Genomic Medicine) (Download)
  • ข้อเสนอ BCG in Action: The New Sustainable Growth Engine (Download)
  • แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อของบประมาณ Flagship (Download)

 

Like: 

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีความประสงค์ที่จะให้มีการศึกษาวิจัยภายใต้ 3 หัวข้อเรื่องต่อไปนี้ คือ 1.บทบาทรัฐสภาในการพัฒนาระบบการงบประมาณของประเทศ 2.การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฏหมาย และ 3.การปฏิรูปองค์กรนิติบัญญัติภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพทุธศักราช 2560 โดยผู้สนใจจ้องส่งข้อเสนอโครงการวิจัยให้มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นตามข้อกำหนดเบื้องต้นการวิจัยและข้อเสนอโครงการวิจัยต้องมีคุณลักษณะตามแบบ ว.1

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์รัฐสภา http://library2.parliament.go.th/library/res-dev.html และสามารถยื่นแบบเสนอโครงการวิจัยตามประกาศสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ด้วยตนเองที่กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ เขตพญาไท กรุงเทพฯ หรือส่งทางไปรษณีย์ เรียนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ อขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 ภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Like: 

      ด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับชาตและนานาชาติ ประจำปี 2563 ด้านสารสนเทศ การเกษตร การจัดการ บริหารธุรกิจ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (The 5th National Conference and The 1st International Conference on Informatics, Agriculture, Management, Business administration, Engineering, Sciences and Technology  : IAMBEST 2020) หัวข้อ "บูรณาการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน" (Integrating Innovations for Sustainable Development) ในระหว่างวันที่ 28-9 พฤษภาคม 2563 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้คณาจารย์ นักวิจัย ผู้ประกอบการวิชาชีพ นิสิต/นักศึกษา ตลอดจนบคลากรทั่วไป ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย สามารถดูรายละเอียด http://www.pcc.kmitl.ac.th/iambest/ หรือสอบถามข้อมูล ได้ที่ งานบริการวิชาการแก่สังคม (คุณนาราอร สว่างวงศ์ 09-0789-3114)

เชิญเข้าร่วมการประชุมและการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติประจำปี 2563

Like: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กำหนดจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 (The 4th International Conference of Multidisciplinary Approaches on UN Sustainable Development Goals : UNSDGs 2020) ในระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2563 ณ โรงแรมวินด์เซอร์ สวีท แอนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร  เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการแลกเปลี่ยนงานวิจัยระหว่างอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ ได้นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลัก UNSDGs ซึ่งการประชุมประกอบด้วยการเสวนาทางวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยแบบภาคบรรยาย จำนวน 11 สาขา และบทความวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกผ่านกระบวนการวารสารจะได้ตีพิมพ์ในวารสาร Interdisciplinary Research Review (IRR) ซึ่งอยู่ในฐาน Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) Tier 1,ASEAN Citation Index (ACI) และ Google Scholar หรือตีพิมพ์ในเล่มประกอบการประชุมฯ (Proceedings)

ขอเชิญผู้สนใจส่งบทความเข้าร่วมในรูปแบบบทความฉบับเต็ม (Full Paper) เป็นภาษาอังกฤษ ได้ที่ http://dept.npru.ac.th/unsdgs2020/  ตั้งแต่บัดนี้ถึง 28 กุมภาพันธ๋์ 2563

Like: 

Pages