วันที่ 2-3 พฤษภาคม 2566 ผศ.ประภาศรี ศรีชัย รองประธานอนุกรรมการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ.-มทร.ศรีวิชัย ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้มอบหมายให้ รศ.ดร.ชุตินุช สุจริต อนุกรรมการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ.-มทร.ศรีวิชัย ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ภาคใต้ฝั่งอันดามัน รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาฝ่ายวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมคณะทำงานเครือข่าย C-อพ.สธ. ภาคใต้ตอนล่าง ครั้งที่ 2/2566 ณ วิทยาลัยชุมชนสตูล ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยมี รศ.ดร.สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการ อพ.สธ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธาน ซึ่งมีคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ วิทยาลัยชุมชนยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ วิทยาลัยชุมชนยะลา วิทยาลัยชุมชนสงขลา และวิทยาลัยชุมชนปัตตานี เข้าร่วมประชุมมากกว่า 10 หน่วยงาน

Like: 

วันที่ 26 เมษายน 2566 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยและส่งเสริมงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือสังคม กิจกรรมการขับเคลื่อนงานวิจัย เพื่อตอบโจทย์หมุดหมายของประเทศ และมอบรางวัลเพชรศรีวิชัย ให้กับนักวิจัย 23 ท่าน ด้วยผลงาน 26 รางวัล เพื่อเชิดชูเกียรติให้กับนักวิจัยที่มีผลงานโดดเด่น และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักวิจัยได้พัฒนาต่อไป ภายใต้การดำเนินงานของ ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วย ผศ.ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และคณะทำงาน โดยมี คณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยฯ รวมถึงบุคคลภายนอก จำนวนรวมกว่า 200 คน เข้าร่วมแสดงความยินดี ณ ห้องประชุมศรีวิศว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

.

ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวว่า สำหรับรางวัลที่มอบให้กับนักวิจัยทั้ง 23 ท่าน 26 รางวัล ประกอบไปด้วยผลงานดังนี้ ด้านการได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย ด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย นักวิจัยที่มีค่า H-index สูงสุด นักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น และนักประดิษฐ์คิดค้น เป็นการสำรวจข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560- 2565 เป็นผลงานที่แล้วเสร็จและถูกนำไปถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์ต่อสังคมหรือเชิงพาณิชย์ สามารถแสดงให้เห็นเป็นเชิงประจักษ์ต่อสาธารณชน ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มุ่งสร้างงานวิจัยที่มีการผสมผสานองค์ความรู้ในศาสตร์หลากหลายแขนงเพื่อสรรสร้างนวัตกรรม อนุรักษ์และสืบทอดมรดกวัฒนธรรมสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตามหมุดหมายการพัฒนาประเทศ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรที่มหาวิทยาลัยมีความเข้มแข็ง ภายใต้ BCG Model (Bio – Circular- Green Economy) ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2566-2570 โดยปัจจุบันการดำเนินการขับเคลื่อนด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย ได้ปรับตัวให้ตามกระแสและรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของระบบบริหารงานวิจัยระดับประเทศเรื่อยมา จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน นอกจากนี้การดำเนินงานวิจัยไม่เพียงแต่ทำให้แล้วเสร็จเพียงการปิดเล่ม แต่มหาวิทยาลัยยังตระหนักถึงการนำผลงานไปเผยแพร่สู่สาธารณชน มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยมหาวิทยาลัยฯ ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในด้านการเข้าใจด้านแหล่งทุนวิจัยต่าง ๆ การเข้าใจเทรนด์การของบประมาณการวิจัยในรูปแบบใหม่ การพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อการพิชิตทุนจากแหล่งทุนภายนอก การส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัยนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์สู่ระดับสากลเพิ่มขึ้น และตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สามารถเป็นนักจัดการบริหารแผนงานหรือโครงการวิจัยอย่างมีคุณภาพสามารถสร้างผลกระทบต่อสังคม และประเทศชาติได้ในอนาคต โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างโจทย์การวิจัยให้ตอบโจทย์ต่อการใช้ประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงตอบโจทย์ด้านแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศ

.

สำหรับบรรยากาศภายในการจัดโครงการมีการนำเสนอผลงานที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก  เช่น แหล่งทุนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เป็นต้น รวมถึงการแสดงบูธผลงานเด่นจากโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน” (U2T)

Like: 

วันที่ 10-11 เมษายน 2566 หน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย จัด โครงการ “การหนุนเสริมกระบวนการขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดสงขลา” โดยมี ผศ.ดร.สุดคนึง ณ ระนอง เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย จัดกิจกรรมถอดบทเรียนกระบวนการหนุนเสริมงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดสงขลา และการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของโครงการวิจัย ภายใต้ชุดโครงการ “การพัฒนาชุมชนระดับตำบลแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคโนโลยีพร้อมใช้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดสงขลา” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี หอมเขียว เป็นผู้อำนวยการชุดโครงการ ซึ่งมีกิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรมถอดบทเรียนกระบวนการหนุนเสริมงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยวิทยากร อาจารย์บุญรัตน์ บุญรัศมี

2. กิจกรรมการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของโครงการวิจัยและการทวนสอบข้อมูลผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment: ROI) หลังดำเนินโครงการวิจัย โดยวิทยากรกลุ่ม ได้แก่ ผศ.ดร.สุดคนึง ณ ระนอง ดร.กนกรัตน์ รัตนพันธุ์ ผศ.กุลธีรา ทองใหญ่ อาจารย์กัตตินาฏ สกุลสวัสดิพันธ์

3. กิจกรรมทวนสอบการออกแบบ Learning and Innovation Platform ของโครงการวิจัย โดยวิทยากร รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี หอมเขียว และการชี้แจงแนวทางการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

โดยวิทยากร รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี หอมเขียว ณ ห้องประชุมชลาทัศน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

Like: 

สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการติดอาวุธการวิจัย เพื่อก้าวสู่นักวิจัยมืออาชีพ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดคนึง ณ ระนอง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม โดยโครงการดังกล่าวจะจัดขึ้นในระหว่างระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน พ.ศ.2566 ณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา การจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันดี นวนสร้อย วิทยาลัยรัตภูมิ และรองศาสตราจารย์ผกากรอง เทพรักษ์ คณะศิลปศาสตร์ เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ “การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป” เป็นการอบรมที่ส่งเสริมเครื่องมือการทำวิจัยให้กับนักวิจัย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมการวิจัย สามารถนำเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมการวิจัย ไปใช้ในการวิจัยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

Like: 

วันนี้ 25 มีนาคม 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เข้าร่วมกิจกรรมการจัดตลาดนัด U2T For BCG ซึ่งจัดโดย สำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย โดยได้รับเกียรติจาก นายเอกชัย เลิศวิบูลย์ลักษณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธี และหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน นักวิจัย นวัตกรชุมชน เข้าร่วมเยี่ยมชมสินค้า U2T ที่เป็นผลงานต่อยอดจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Product champions) ต่อไป โดยงานดังกล่าวจัดแสดง ระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม 2566 ณ ชั้น 3 เซ็นทรัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการออกบูธ จำนวน 35 ร้านค้า จาก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลาจังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมชมงานและจับจ่ายซื้อผลิตภัณฑ์จำนวนมาก

Like: 

วันที่ 24 มีนาคม 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย หน่วยประสานงานเครือข่ายภาคใต้ด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยลูกข่าย 1 ใน 5 แห่ง ของมหาวิทยาลัยแม่ข่าย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เข้ารับการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ peer evaluation ภายใต้โครงการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ peer evaluation: Phase 2 เพื่อยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารสำนักงานวิทยาเขตตรัง

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดี ประจำวิทยาเขตตรัง กล่าวต้อนรับคณะกรรมการผู้ตรวจประเมิน และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาโนช ขำเจริญ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง รวมทั้งประธานและคณะอนุกรรมการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เข้าร่วมรับฟังการประเมินและรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ซึ่งการตรวจประเมินครังนี้ได้รับเกียรติจาก นายพัฒนา เอี่ยมกระสินธุ์ หัวหน้าผู้ตรวจประเมิน นาวสาวพัชรินทร์ ไพรกุล ผู้ตรวจประเมิน จากศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล

ห้องปฏิบัติการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง วิทยาเขตตรัง ได้เข้ารับการตรวจประเมิน จำนวน 1 ห้องปฏิบัติการ ได้แก่

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหาร สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดลฤดี พิชัยรัตน์ นางสาวหทัยทิพย์ ทองด้วง หัวหน้าห้องปฏิบัติการและเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ นำเสนอการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการตามองค์ประกอบความปลอดภัยทั้ง 7 ด้าน และตอบข้อซักถาม รวมถึง Site visit ห้องปฏิบัติการ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะผู้ตรวจประเมิน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาห้องปฏิบัติการในการยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการวิจัยด้านสารเคมีให้มีประสิทธิภาพตามหลักมาตรฐานสากล

 

 

Like: 

Pages