18 ตุลาคม 2561 ผศ.ยงยุทธ หนูเนียม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อม ดร.จเร สุวรรณชาติ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผศ.อุดร นามเสน รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ รศ.จารุยา ขอพลอยกลาง รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช นำผู้บริหารพื้นที่ วข.นครศรีธรรมราช และนักวิจัย พบภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ “โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม บนฐานศักยภาพและทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ตลาดการแข่งขัน” ภายใต้ “การพัฒนางานวิจัยและการสนับสนุนชุดโครงการวิจัยที่มีผลกระทบสูง (Program based Research) ระหว่างกองทุนสนับสนุนการวิจัยกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” ณ ห้องประชุมทิพย์มณฑา โรงแรมลิกอร์ อาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด นครศรีธรรมราช มาเป็นประธานในการประชุม และร่วมหารือการสนับสนุนการทำงาน โดยมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกว่า 60 คน ผสมผสานกับนักวิจัยอีกกว่า 30 คน อีกทั้งได้รับเกียรติจาก คุณเบญจมาศ ตีระมาศวณิช ผู้ทรงคุณวุฒิงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ มาให้มุมมองและวิเคราะห์กรอบการวิจัย เป็นอีกหนึ่งกระบวนทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ในระดับจังหวัดที่ มทร.ศรีวิชัย ดำเนินการในปี 2561 

Like: 

วันที่ 18 ตุลาคม 2561 ผศ.ยงยุทธ หนูเนียม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อม ดร.จเร สุวรรณชาติ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผศ.อุดร นามเสน รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ รศ.จารุยา ขอพลอยกลาง รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นำผู้บริหารพื้นที่ วข.นครศรีธรรมราช และนักวิจัย พบภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ “โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มบนฐานศักยภาพและทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ตลาดการแข่งขัน” ภายใต้ “การพัฒนางานวิจัยและการสนับสนุนชุดโครงการวิจัยที่มีผลกระทบสูง (Program based Research) ระหว่างกองทุนสนับสนุนการวิจัยกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” ณ ห้องประชุมทิพย์มณฑา โรงแรมลิกอร์ อาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด นครศรีธรรมราช มาเป็นประธานในการประชุม และร่วมหารือการสนับสนุนการทำงาน โดยมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกว่า 60 คน ผสมผสานกับนักวิจัยอีกกว่า 30 คน อีกทั้งได้รับเกียรติจาก คุณเบญจมาศ ตีระมาศวณิช ผู้ทรงคุณวุฒิงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ มาให้มุมมองและวิเคราะห์กรอบการวิจัย

Like: 

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2561 ผศ.ยงยุทธ หนูเนียม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมแถลงข่าวและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนางานวิจัยและการสนับสนุนชุดโครงการวิจัยที่มีผลกระทบสูง (Program based Research)” ระหว่าง 8 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  วิจัยสร้างองค์ความรู้ "เทคโนโลยีและนวัตกรรม" ต่อยอดผลิตภัณฑ์ OTOP ให้เป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยม เสริมเศรษฐกิจฐานราก ซึ่ง 8 มทร. ประกอบด้วย

1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

          การแถลงข่าวและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนางานวิจัยและการสนับสนุนชุดโครงการวิจัยที่มีผลกระทบสูง (Program based Research) โดยมีท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัย รองอธิการบดี ผู้อำนวยการสถาบันการวิจัยและพัฒนา ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิจัย ร่วมงานดังกล่าว ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพ

          โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลให้การสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ในการขับเคลื่อนภารกิจและนโยบายรัฐ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและความยากจนของประเทศ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน โดยมีแนวทางการพัฒนาสินค้าและบริการ 5 ด้าน ประกอบด้วย

          - ด้านการบริหาร โดยใช้กลไกคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดและอำเภอ

          - ด้านพัฒนาผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ

          - ด้านสถานที่

          - ด้านผลิตภัณฑ์ของใช้/ของที่ระลึก จะต้องนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาผลิต บรรจุภัณฑ์แข็งแรงดี และมีความสวยงาม

          - ด้านอาหาร โดยเน้นความสะอาดและถูกสุขอนามัย และมาตรฐาน

เชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ใน 3 กลุ่มงาน คือ เกษตร แปรรูป และท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งปัจจุบันพบว่า ผลิตภัณฑ์ OTOP บางชนิด ยังมีปัญหาด้านคุณภาพ มาตรฐาน และการพัฒนาต่อยอดยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ให้เป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยม

อย่างไรก็ดี สกว. ในฐานะองค์กรที่มีภารกิจสนับสนุนทุนวิจัยให้เกิดข้อมูล และความรู้สู่การขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของประเทศ รวมถึงหนุนเสริมนโยบายของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและความยากจนของประเทศ โดยการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรและภูมิปัญญาพื้นถิ่นด้วยการวิจัย จึงได้สนับสนุน โครงการการพัฒนางานวิจัยและโครงการวิจัยที่มีผลกระทบสูง (Program based Research) ภายใต้ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 8 แห่ง ดำเนินการศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้ด้วย “การพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” ในการเพิ่มมูลค่า และความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งคุณคุณภาพ และมาตรฐาน ที่ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าของอัตลักษณ์เชิงภูมิปัญญา เสน่ห์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น ทันสมัย ตามแบบสากล

          ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ (ABC) สกว. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นมหาวิทยาลัยนักปฏิบัติมืออาชีพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งเป็นแหล่งสร้างงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมสู่การผลิตเชิงพาณิชย์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะรับหน้าที่การศึกษาวิจัย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ (OTOP) ภายใต้ชุดโครงการวิจัยและความร่วมมือที่จะยกระดับเศรษฐกิจฐานรากผ่าน “งานวิจัยพื้นที่เชิงพาณิชย์” เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ผ่านกลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่า และยกระดับผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์เป้าหมาย (Signature Product)

          ผศ.ยงยุทธ หนูเนียม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีพื้นที่รับผิดชอบในภาคใต้  มีวิทยาเขตตั้งอยู่ในหลายจังหวัด มีพันธกิจทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนสังคมมาอย่างต่อเนื่อง โครงการความร่วมมือกับ สกว. ครั้งนี้ ได้เลือกพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญของภาคใต้ มีพื้นที่และประชากรสูง แต่ขีดความสามารถในการแข่งขันยังมีปัญหาด้านโครงสร้างการกระจายรายได้ นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยมีความร่วมมือที่ดีกับทางจังหวัดมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นทุนการหนุนเสริมจากภาคีในระดับจังหวัดมีความพร้อมสูง ประเด็นที่จังหวัดได้เลือกกลุ่ม OTOP คือเครื่องแกง และเครื่องถม ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ มีความเอกลักษณ์ต่อความเป็นเมืองนครศรีธรรมราช และความเป็นภาคใต้ เครื่องแกงคือเครื่องปรุงที่สำคัญในวัฒนธรรมอาหารของชาวใต้  ขณะที่เครื่องถมคือศิลป์ที่มีคุณค่ามายาวนาน ซึ่งการเลือกสรรในครั้งนี้ ตรงกับความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองที่ว่า "เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสองธรรม เมืองสองคลอง เมืองสองเครื่อง"  เป้าหมายที่สำคัญของ มทร.ศรีวิชัย ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ให้แนวทางนักวิจัยไว้ง่ายๆ ชัดๆ คือ งานวิจัยที่ทำนั้น จะต้อง "ทำได้จริง ใช้ได้จริง ขายได้จริง" บนประโยชน์สูงสุดคือชุมชนสามารถเกิดรายได้เพิ่มที่วัดผลได้

          สำหรับความร่วมมือระหว่าง หน่วยบูรณาการวิจัยฯ เชิงพื้นที่ ABC สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในครั้งนี้ เป็นการทำงานแบบประสานพลังที่มุ่งสร้างงานวิจัยให้เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรม นำไปสู่การยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ OTOP บนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยอาศัยกลไกความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งสอดรับกับนโยบายรัฐบาย ภายใต้การพัฒนาประเทศไทย 4.0

Like: 

วันที่ 11-12 ตุลาคม 2561 ดร.จเร สุวรรณชาต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นผู้แทนอธิการบดีร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านมาตรฐานความปลอดภัยการวิจัยและมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ 12 สถาบัน และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ณ โรงแรมบุรีศรีภู อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Like: 

วันที่ 8-9 ตุลาคม 2561 ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย เข้าร่วมประชุมเครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนา 9 มทร. และรายงานสรุปผลการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 10 และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 โดยมี รศ.ศีลศิริ สง่าจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้เปิดการประชุม ณ ห้องประชุม1 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่

Like: 

วันที่ 3 ตุลาคม 2561 รองศาสตราจารย์จารุยา ขอพลอยกลาง รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช นำทีมผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร คณบดีคณะเทคโนโลยีการจัดการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ พร้อมนักวิจัยรวม 13 คน เข้าพบ รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อหารือกรอบการทำงานวิจัย ด้านพัฒนา OTOP ความร่วมระหว่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งการพบกันครั้งนี้ได้ร่วมกลั่นกรองกลุ่มเป้าหมาย และกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับเตรียมจัดเวทีทบทวนกรอบวิจัยพัฒนา OTOP ในวันที่ 18-19 ตุลาคม 2561 นี้ โอกาสนี้ได้รับความรู้และมุมมองที่จะเชื่อมโยงการพัฒนา OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยเสน่ห์ที่ว่า นคร...เมืองสองธรรม (ธรรมะ+ธรรมชาติ) เมืองสองเครื่อง (เครื่องถม+เครื่องแกง)

Like: 

Pages