วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดอบรมการใช้ระบบสารสนเทศงานวิจัย มทร.ศรีวิชัย (RISS): สำหรับบุคลากร เจ้าหน้าที่ ที่ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยสถาบันประจำปี 2565 โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวต้อนรับและเปิดการอบรม ซึ่งมี นายเชิด คงห้อย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา บรรยายการใช้งานระบบสารสนเทศงานวิจัยเพื่อบริหารจัดการงานวิจัย (ระบบ RISS) สำหรับงานวิจัยสถาบัน ในการสร้างความเข้าใจการใช้ระบบสารสนเทศบริหารจัดการงานวิจัยร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings    

Like: 

วันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2565 สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย นำโดย ผศ.ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผศ.ดร.สุดคนึง ณ ระนอง รศ.ดร.ชุตินุช สุจริต ดร.วิกิจ ผินรับ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมประชุมวางแผนการดำเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการวิจัย ในปีงบประมาณ 2566 และเตรียมตั้งรับข้อเสนอโครงการวิจัยในปีงบประมาณ 2567 รวมทั้งการ KM การใช้งานระบบสารสนเทศบริหารงานวิจัย มทร.ศรีวิชัย ร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจในการใช้ระบบสารสนเทศบริหารจัดการงานวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Like: 

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้มีโอกาสต้อนรับคณะผู้บริหารจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และผู้แทนจากสำนักงบประมาณ เพื่อเยี่ยมชมกระบวนการดำเนินงานด้านวิจัย วิชาการภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เรารู้จักในงบประมาณ ววน.

          รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง ผศ.โกสินทร์ พัฒนมณี เป็นตัวแทนท่านอธิการบดี นำทีมรองอธิการบดี ผศ.อุดร นามเสน ผศ.ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม ผศ.สมคิด ชัยเพชร พร้อมทีมงาน ผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา สำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนักวิจัย ร่วมนำเสนอกิจกรรมและผลงาน จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยการจัดการสู่การประโยชน์ไปยังสังคม โดยมี ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี รายงานผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและแผนการพัฒนาด้านการวิจัย ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่มีการดำเนินงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชนและการบูรณาการงานวิจัยให้สามารถตอบโจทย์ของพื้นที่บริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดชุมพร ทั้งยังนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินการวิจัยมากขึ้น ทำให้สามารถตอบโจทย์ ทั้งด้านสังคม เศรฐกิจ และสิ่งแวดล้อม งบประมาณ ณ โรงแรมเรือรัษฎา จังหวัดตรัง ทั้งนี้ทาง สกสว.ได้กล่าวชื่นชมการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ที่มีผลผลิตดีขึ้นจากการยืนยันในระบบ NRIIS  โดยทาง วิทยาเขตตรัง ยังใช้จุดแข็งด้านการทำงานกับภาคีเครือข่ายในการเชิญ ส่วนราชการ ภาคเอกชน ผู้แทนชุมชน มาร่วมยืนยันการขยายผลไปสู่การใช้งานจริง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มจากมิติต่างๆ

ภายในงานได้มีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน รวม 6 ผลงาน ประกอบด้วย

1. ระบบติดตามคุณภาพน้ำเพื่อสนับสนุนการทำการเกษตรแบบเรียลทาม ด้วยเทคโนโลยี IoT

ผู้รับผิดชอบ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์นเรศ ขวัญทอง และ นางสาวศยมน พุทธมงคล

2. การยกระดับพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่สู่ตลาดการแข่งขัน ผู้รับผิดชอบ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศรี ศรีชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาลินี ฉินนานนท์ และคณะ

3. การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ผู้รับผิดชอบ: รองศาสตราจารย์วรพงษ์  บุญช่วยแทน

4. ปูม้า/เกาะสุกร ผู้รับผิดชอบ: ดร.วิกิจ ผินรับ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สุดคนึง ณ ระนอง

5. นวัตกรรมการอนุบาลลูกหอยนางรมด้วยระบบทุ่นลอยน้ำ ผู้รับผิดชอบ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดรสุพัชชา ชูเสียงแจ้ว และอาจารย์กันตินาฎ สกุลสวัสดิพันธ์

6. การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าการผลิตแตงโมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ผู้รับผิดชอบ: ดร.ขวัญตา ตันติกำธน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักษมี วิทยา 

          ช่วงบ่าย ทางสถาบันวิจัยและพัฒนา นำทีมคณะดูงานการพัฒนาฐานชุมชนมิติเกษตร จากงานวิจัยพัฒนาพื้นที่ ชุมชนนวัตกรรมต้นแบบจากการขับเคลื่อนการทำงานวิจัย ในชุมชนบ้านเขาหลัก ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง และชุมชนนาหมื่นศรี ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ได้เจอการรับ ปรับใช้  เทคโนโลยีที่เหมาะสม ของชุมชน นวัตกรชุมชนที่มีขีดความสามารถใหม่ ในการขับเคลื่อนและขยายผลการพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยมีหลักฐานยืนยันทั้งในด้านผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้ รางวัลชุมชนจากองค์กรต่างๆ ภาคีหน่วยงานที่ร่วมยืนยันความสำเร็จและนำไปขยายผล

          ทั้งนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนและรับฟังข้อคิดเห็นผลการดำเนินงานด้านการวิจัยของหน่วยงาน และการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงบประมาณ โดย คุณโกวิทย์ มีกรุณา ที่ปรึกษาสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ รองผู้อำนวยการกำกับดูแลและปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบ ววน. คุณอมรรัตน์ ภูมิวสนะ ผู้อํานวยการกองจัดทํางบประมาณด้านสังคม 2 สํานักงบประมาณ และ ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ว่าการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัย ในปัจจุบัน จะประเมินจากผลการดำเนินของหน่วยงาน และจะต้องมีการประเมินผลลัพธ์ผลกระทบจากการวิจัยที่เกิดขึ้น ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ อย่างไร และในอนาคต มหาวิทยาลัยอาจจะมีการทำงานร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อยกระดับและพัฒนาผลงานวิจัยมากขึ้นอีก จากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวทำให้ทราบว่าผลการดำเนินงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อยู่ในระดับดี และมีผลงานที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงตอบโจทย์สังคมและจะสามารถพัฒนาขึ้นอีกต่อไป

Like: 

สถาบันวิจัยและพัฒนา ขอแสดงความยินดี กับนักวิจัยและนวัตกรชุมชน มทร.ศรีวิชัย ที่ได้รับรางวัล ในการประกวดชุมชนนวัตกรรม เทคโนโลยีพร้อมใช้และนวัตกรดีเด่น ในงานประกวดชุมชนนวัตกรรม เทคโนโลยีพร้อมใช้และนวัตกรดีเด่น ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประจำปี 2563-2564 โปรแกรม 13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรม S31 Sukhumvit จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ (บพท.) ภายใต้ชุดประสานงานและบริหารจัดการเพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพสูงสำหรับขับเคลื่อนโครงการชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปีงบประมาณ 2564 ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้คัดเลือกผลงานเด่น 9 ผลงาน ใน 3 ประเภทการประกวด ชุมชนนวัตกรรมเข้มแข็ง นวัตกรรมพร้อมใช้ นวัตกรชุมชนคนเก่ง จาก 3 แผนงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณวิจัยในปี 2563-2564 เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ และคว้ารางวัลมาได้ทั้งหมด 7 รางวัล ดังนี้

1. รางวัล Popular Vote ประเภทนิทรรศการ

2. รางวัลชมเชย ประเภทชุมชนนวัตกรรม 

ผลงาน ชุมชนนวัตกรรม ท่องเที่ยววิถีชุมชนสปาโคลนธรรมชาติบ่อน้ำพุเค็มร้อนบ่อหินฟาร์มสเตย์

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนินทร์  สังขดวง หัวหน้าโครงการวิจัย

3. รางวัลชมเชย ประเภทนวัตกรรมพร้อมใช้

ผลงาน นวัตกรรมเครื่องคั่วกาแฟโอ่งอัตโนมัติสำหรับชุมชน

โดย รองศาสตราจารย์วรพงค์  บุญช่วยแทน หัวหน้าโครงการวิจัย

4. รางวัลชมเชย ประเภทนวัตกรรมพร้อมใช้

ผลงาน นวัตกรรมการติดตามความเค็มเรียลไทม์เพื่อสร้างความมั่นคงทางน้ำสำหรับการปลูกข้าว

โดย ดร.ณัฐพล แก้วทอง หัวหน้าโครงการวิจัย

5. รางวัลระดับดี ประเภทนวัตกรรมพร้อมใช้

ผลงาน นวัตกรรมการจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าปลากะพงสามน้ำ

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐานวิทย์  แนมใส

และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โกสินทร์ ทีปรักษพันธ์ หัวหน้าโครงการวิจัย

6. รางวัลชมเชยนวัตกรชุมชน ประเภทนวัตกรชุมชน

นวัตกรอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชนสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี  หอมเขียว หัวหน้าโครงการวิจัย

7. รางวัลระดับดีนวัตกรชุมชน ประเภทนวัตกรชุมชน

นวัตกรอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชนสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจษฏา ร่มเย็น หัวหน้าโครงการวิจัย

 

Like: 

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 ดร.วิกิจ ผินรับ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้มอบหมายให้ ผศ.ดร.อาริษา โสภาจารย์ เลขานุการอนุกรรมการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ.-มทร.ศรีวิชัย พื้นที่สงขลา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย วิทยาลัยรัตภูมิ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ภาคใต้ฝั่งอันดามัน (อพ.สธ.-มทร.ศรีวิชัย) เข้าร่วมฟังการบรรยายหัวข้อการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ “คราม” เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาเรื่อง “กล้วย” ในการพิชิตทุนแบบมุ่งเป้า ประจำปีงบประมาณ 2566  โดยมี ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นประธานในการบรรยายในครั้งนี้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings   

Like: 

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย นำโดย รศ.ดร.ชุตินุช สุจริต รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนา จัดประชุมชี้แจงการรับทุนสนับสนุนการวิจัย (FF และเงินรายได้ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖) แก่นักวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยและการส่งผลผลิตการวิจัยสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายผลผลิต Objectives and Key Results (OKRs) ซึ่งมีนักวิจัยเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงมากกว่า 150 ท่าน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings

 

Like: 

Pages