โหมโรง พลังปัญญาแดนใต้ : พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ความสำเร็จของเครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคใต้กับงานวิจัยพัฒนาพื้นที่

วันที่ 17 มิถุนายน 2565 ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมกับสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม และเครือข่ายมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่กลุ่มภาคใต้   จัดกิจกรรมเสวนาร่วมแลกเปลี่ยนความสำเร็จของเครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคใต้กับงานวิจัยพัฒนาพื้นที่ “โหมโรง” พลังปัญญาแดนใต้ : พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ภายใต้กิจกรรมเตรียมความพร้อม สร้างการรับรู้และการสื่อสารในการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 8 ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ แก้วอ่อน รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเสวนา และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสมาพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมเข้าร่วมฟังการเสวนาในครั้งนี้

          ในการจัดกิจกรรม “โหมโรง” พลังปัญญาแดนใต้ : พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยา สุขจันทรา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนากับเครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคใต้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อเสวนาร่วมกัน ได้แก่

  • แลกเปลี่ยน“การยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ตลาด

          การแข่งขันด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

                   โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศรี ศรีชัย

                   ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

  • แลกเปลี่ยน “การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์จากสับปะรดภูเก็ตสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์”

                   โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อทิพันธ์ เสียมไหม

                    ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

  • แลกเปลี่ยน “การประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

          ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช”

                   โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมรักษ์ รอดเจริญ

                   ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

  • แลกเปลี่ยน “โมเดลความสำเร็จของการจัดการธนาคารปูม้าโดยชุมชนมีส่วนร่วมสู่ความยั่งยืนของ

          ฐานทรัพยากรและสร้างเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง”

                   โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี

                   ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • แลกเปลี่ยน “โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและ

          แม่นยำในจังหวัดพัทลุง

                   โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

                   และผู้รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ

  • แลกเปลี่ยน “การพัฒนาสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ" (Suratthani Smart City)”

                   โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรา พงษ์พานิช

                   ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

  • แลกเปลี่ยน “การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการบนพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล”

                   โดย อาจารย์พุฒิธร ตุกเตียน

                   ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

  • แลกเปลี่ยน “การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อหนุนเสริมการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัด

          ชายแดนใต้”

                   โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกสรี ลัดเลีย

                   รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

  • แลกเปลี่ยน “FATONI for PEACE: มหาวิทยาลัยฟาฏอนีสู่การขับเคลื่อนเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อ

                   สันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้”

                             โดย ดร.อิสมาอีล ราโอบ

                             ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

          อีกทั้งยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา มิ่งฉาย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ และคุณเบญจมาศ ตีระมาศวณิช ผู้ทรงคุณวุฒิงานวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิร่วมสกัดข้อเรียนรู้ประเด็นการเสวนาของแต่ละมหาวิทยาลัยเครือข่าย ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings

Like: