วันที่ 27 มิถุนายน 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานด้านการวิจัย ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในการเยี่ยมชมหน่วยงานและหารือแนวทางการบริหารจัดการแผนงานและงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดยมี ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย ผศ.ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และให้เกียรติบรรยายพิเศษ “ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศการติดตามประเมินผล และพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2564 ให้แก่นักวิจัยของมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังมีการนำเสนอระบบและกลไกลการบริหารจัดการงานวิจัยงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และระบบการจัดการการบริหารทรัพย์สินทางปัญญา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย ผศ.ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และอาจารย์บุญรัตน์ บุญรัศมี รองผู้อำนวยการสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ณ ห้องประชุมศรีวิศว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย การดำเนินงานกิจกรรมในครั้งนี้มีการเยี่ยมชมผลการดำเนินงานวิจัย ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 1.การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าและยกระดับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงเห็ดแครงตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา บนพื้นฐานศักยภาพและทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 2.การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมมโนราห์เพื่อหนุนเสริมระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์จังหวัดสงขลา โดยมี รองศาสตราจารย์วรพงค์ บุญช่วยแทน เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย 3.ศักยภาพทรัพยากรในเขตมรดกทางวัฒนธรรม พื้นที่เมืองเก่าสงขลา เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4.วัฒนธรรมด้านอาหาร ในประเพณีวันสารทเดือนสิบ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดย อาจารย์ธนวัฒน์ เลขาพันธ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ อาจารย์เศวตฉัตร นาคะชาต คณะศิลปะศาสตร์ ผศ.งามเพชร อัมพรวัฒพงศ์ และผศ.อารีนา อีสามะ เป็นผู้ดำเนินการ รวมทั้งยังมีการเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานวิจัยของนักวิจัย มทร.ศรีวิชัย ประกอบด้วย 1.การประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพในห่วงโซ่โมเดลแก้จนต้นแบบของจังหวัดพัทลุง สู่การแก้ไขความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ โดยเจ้าของผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพดล โพชกำเหนิด คณะศิลปะศาสตร์ 2.การเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจชุมชน และโอกาสทางสังคมภายใต้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สำหรับคนจนเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยเจ้าของผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซูไฮดี สนิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 3.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมให้กลุ่มเป้าหมายในโมเดลแก้จนจังหวัดยะลา เพื่อยกระดับความมั่นคงของรายได้ในห่วงโซ่ธุรกิจการเกษตร โดยเจ้าของผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิติศักดิ์ ชุมทอง คณะศิลปะศาสตร์ 4.การพัฒนาชุมชนระดับตำบลแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคโนโลยีพร้อมใช้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ชายแดนใต้ จังหวัดสงขลา โดยเจ้าของผลงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี หอมเขียว คณะวิศวกรรมศาสตร์ 5.การสรรค์สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มศักยภาพและเชื่อมโยงพื้นที่เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแนวใหม่: โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 อำเภอคลองหอยโข่งจังหวัดสงขลา โดยเจ้าของผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัชชญา สังขะกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 6.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อจัดการการเลี้ยงและการแปรรูปสัตว์น้ำสำหรับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสงขลา โดยเจ้าของผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โกสินทร์ ทีปรักษพันธ์ คณะศิลปศาสตร์ ภายในงานมีการแสดงมโนราห์ จากศูนย์ฝึกมโนราห์ตำบลท่าข้าม และการจัดแสดงผลงานผลิตภัณฑ์ลูกปัดมโนราห์ของชมรมรักษ์โนราห์ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นผลงานภายใต้การดำเนินงานจากโครงการวิจัย การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมมโนราห์ เพื่อหนุนเสริมระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์จังหวัดสงขลา และยกระดับการสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นอันงดงามต่อไป