วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ฝั่งอันดามัน มทร.ศรีวิชัย จัดการฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตร 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 25 – 28 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องฝึกอบรมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิโชค จันทร์ย่อง รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวเปิดงาน รศ.ดร.ลักษมี วิทยา รองผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวรายงาน
ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากร คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากรจาก อพ.สธ. (สำนักพระราชวัง) นายพรเทพ สีบุญเรือง ที่ปรึกษาศูนย์แม่ข่ายประสานงานและศูนย์ประสานงานอพ.สธ.ภาคใต้ วิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มทร.ศรีวิชัย ซึ่งการฝึกอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในแนวการสนองพระราชดำริ การบริหารและการจัดการการดำเนินงาน หลักสูตร 6 งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อนำความรู้สู่การสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ และการพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ในหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยมีหน่วยงานจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานท้องถิ่น จำนวน 18 หน่วยงาน เข้าร่วมการฝึกอบรม
กำหนดการภาคเช้า ประกอบด้วย
บรรยายพิเศษ : แนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นตามแนวทางของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ที่มา ความสำคัญ อพ.สธ. / เป้าหมายวัตถุประสงค์ / ภาพรวม ๘ กิจกรรม / ลำดับการรับป้ายสนองพระราชดำริฯ
โดย : นายมรกต วัชรมุสิก วิทยากรโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
บรรยาย : งานที่ ๑ งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น และ ฝึกปฏิบัติการ : ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น (การสำรวจทรัพยากร การศึกษาทรัพยากร การถ่ายภาพทรัพยากร การทำตัวอย่างทรัพยากร )
ภาคบ่ายมีการลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติการ : ฝึกปฏิบัติการ : ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น (การทำผังแสดงทรัพยากร การทำทะเบียนทรัพยากร การทำพรรณไม้ดอง และ การทำพรรณไม้แห้ง)
สรุปและนำเสนอผลการปฏิบัติการ งานที่ 1 ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น
โดย : คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากรจาก อพ.สธ. (สำนักพระราชวัง) และวิทยากรศูนย์ประสานงานฯ มทร.ศรีวิชัย
บรรยาย : งานที่ 2 งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น
ใบงานที่ 1 การเก็บข้อมูลพื้นฐานในท้องถิ่น
ใบงานที่ 2 การเก็บข้อมูลการประกอบอาชีพในท้องถิ่น
ใบงานที่ 3 การเก็บข้อมูลด้านกายภาพในท้องถิ่น
ใบงานที่ 4 การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน วิถี ชุมชน
ใบงานที่ 5 การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืชในท้องถิ่น
ใบงานที่ 6 การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์สัตว์ในท้องถิ่น
ใบงานที่ 7 การสำรวจเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ชีวภาพอื่นๆ
ใบงานที่ 8 การเก็บรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น
ใบงานที่ 9 การรวบรวมข้อมูลแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและโบราณคดี
โดย วิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มทร.ศรีวิชัย





















