โครงการวิจัยจากแผนงานชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และผู้เข้าร่วมโครงการ

Notebook


วันที่ 29 กรกฎาคม 2564

ทางหน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยและพัฒนา​ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย​ ได้จัดการรายงานติดตามร่างรายงาน​ฉบับสมบูรณ์​ ภายใต้ชุดโครงการวิจัย การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของภาคใต้บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ตลาดการแข่งขัน 🎗️โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศรี​ ศรีชัย​ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา​ (ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย) 🎗️ผ่านระบบ Online Zoom meeting
🏝️ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ​ ทั้งภายในและภายนอก​ รายนาม​ดังนี้
✏️ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
✏️ คุณ​เบญจมาศ ตีระมาศวาณิช ผู้ทรงคุณวุฒิ
✏️ คุณศิริกมล แก้วแสงอ่อน นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช
✏️ คุณสมศรี สุกใส พัฒนาการชุมชนอำเภอสิเกา​ จ.ตรัง
✏️ ดร.ณัฎฐ์วรดี คณิตินสุทธิทอง คณะเทคโนโลยีการจัดการ
ซึ่งมีโครงการวิจัยย่อยดังต่อไปนี้
🎗️กลุ่มวิจัย: เครื่องถมเมืองนคร 🎉โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การวิจัยและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการพันธุ์ใหม่เครื่องถมเมืองนครด้วยนวัตกรรมเชิงวัฒนธรรม โดย ดร.พิมพิศา พรหมมา
🎉โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การวิจัยและพัฒนายกระดับคุณค่าเครื่องถมเมืองนครด้วยการสร้างมูลค่าจากภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น โดย ดร.เกศกุฎา โกฏิกุล
🎗️กลุ่มวิจัย: กลุ่มเครื่องแกงปักษ์ใต้ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 🎉โครงการวิจัยย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มเครื่องแกงปักษ์ใต้ในจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อเพิ่มมูลค่าบนฐานศักยภาพและทรัพยากรพื้นถิ่น โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายใจ แก้วอ่อน
🎉โครงการวิจัยย่อยที่ 4 การวิจัยและการพัฒนาผู้ประกอบการเครื่องแกงปักษ์ใต้ในจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โพยมพร รักษาชล
🎉โครงการวิจัยย่อยที่ 5 การพัฒนายกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนจากปลาทะเลในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดย รองศาสตราจารย์ชมพูนุช โสมาลีย์
🎉โครงการวิจัยย่อยที่ 6 การพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนปลาทะเล ในอำเภอ สิเกา จังหวัดตรัง
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรณิกา บัวทองเรือง
🎗️กลุ่มวิจัย: ประเมินห่วงโซ่ ผลลัพธ์ และผลกระทบของชุดโครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ OTOP
โครงการวิจัยย่อยที่ 7 ประเมินห่วงโซ่คุณค่า ผลลัพธ์ และผลกระทบของชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของภาคใต้บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ตลาดการแข่งขัน
โดย ดร.อนันตนิจ ชุมศรี
#หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่​(บพท.)
#Flagship 21
#กรอบวิจัย​ Local​ Enterprise