โครงการ “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒

 

 

โครงการ “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒

๑.  หลักการและเหตุผล

 

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะหน่วยงานกลางระดับชาติ ทำหน้าที่เป็นหน่วยนโยบายในระบบวิจัยของประเทศ ตามแผนการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบวิจัย แบบบูรณาการของประเทศ และกรอบยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ๒๐ ปี มีหน้าที่เป็นหน่วยรวบรวมข้อมูล ศึกษา วิจัยเกี่ยวกับนโยบาย เป้าหมาย ทิศทาง ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยในภาพรวม รายประเด็น รายอุตสาหกรรม และรายเทคโนโลยี แนวทางการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยที่เหมาะสม แนวทางการกำกับดูแลด้านมาตร จริยธรรม การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพนักวิจัยตลอดจนติดตาม วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านการวิจัยและเทคโนโลยี การจัดทำดัชนีต่างๆที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลการบริหารงานวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพนักวิจัยนั้น วช. ได้มีการสร้างวิทยากรวิจัยที่มีความรู้ความสามารถ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ด้านการวิจัยเพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ รวมถึงการพัฒนาทักษะส่งเสริมนักวิจัยที่อยู่ในระบบวิจัยให้มีความเป็นมืออาชีพในด้านการวิจัยเพิ่มมากขึ้น

ในการพัฒนานักวิจัย ที่ผ่านมายังไม่สามารถเพิ่มนักวิจัยให้มีจำนวนมากอย่างรวดเร็ว อีกทั้งต้องพัฒนาให้นักวิจัยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นนั้น มีคุณภาพและสามารถนำการวิจัยมาประยุกต์ใช้สู่การใช้ประโยชน์ในระดับประเทศหรือพื้นที่ ดังนั้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ วช. จึงได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม“วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (แม่ไก่) โดยจัดทำหลักสูตร เพื่อใช้ในการฝึกอบรม นักวิชาการ นักวิจัย ตลอดจนบุคลากรจากภาคส่วนอื่นๆ ที่เหมาะสม ซึ่งสรรหา และคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย/หน่วยงานที่ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ วช. ในการเข้าอบรมให้เป็นวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ และดำเนินการจัดฝึกอบรม เพื่อพัฒนานักวิจัย ในโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) ร่วมกับ วช.

 

 ๒.  วัตถุประสงค์

 

          ๒.๑ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ และเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ

          ๒.๒ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถจัดทำข้อเสนอการวิจัยได้

          ๒.๓ เพื่อบูรณาการเครือข่ายนักวิจัย จากหน่วยราชการ องค์กรการวิจัยต่างๆ ให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

 

๓.  โครงสร้างหลักสูตร

             ๑. ภาคทฤษฎี ประกอบด้วยเนื้อหา  จำนวน   ๑๙ ชั่วโมง ดังนี้

หมวดที่ ๑ ปรัชญาการวิจัย และจรรยาบรรณการวิจัย และ over view

๑ ชั่วโมง

หมวดที่ ๒ การกำหนดโจทย์การวิจัยแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับนโยบายการวิจัย

ของประเทศ ตามบริบทของชุมชน และงานตามภารกิจหลัก

๒ ชั่วโมง

หมวดที่ ๓ การทบทวนวรรณกรรมและกรอบแนวคิด การสังเคราะห์วรรณกรรม

๒ ชั่วโมง

หมวดที่ ๔ การออกแบบการวิจัย                               

๑. รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ การกำหนดขนาดตัวอย่างและการวิเคราะห์ข้อมูล         

๒. รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายและการวิเคราะห์ข้อมูล  

๓. รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ทั้งนี้กำหนดเป็นทั้ง ๓ รูปแบบการวิจัยดังนี้ (๔-๒-๒) หรือ (๒-๔-๒) หรือ (๒-๒-๔)

หรือ (๒-๓-๓) หรือ (๓-๒-๓) หรือ (๓-๓-๒)

๘ ชั่วโมง

หมวดที่ ๕ การวัด การสร้างเครื่องมือ และการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

๓ ชั่วโมง

หมวดที่ ๖ หลักการเขียนข้อเสนอการวิจัย และหลักการประยุกต์งานวิจัยและนวัตกรรม

ไปสู่การใช้ประโยชน์

 

๓ ชั่วโมง

        ๒. ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วยเนื้อหา  จำนวน   ๑๙ ชั่วโมง ดังนี้

ปฏิบัติการที่ ๑ กำหนดโจทย์และบูรณาการความคิดร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม
เพื่อกำหนดปัญหาวิจัยในแต่ละพื้นที่ และสรุปการกำหนดโจทย์วิจัย คำถามวิจัย วัตถุประสงค์ 

๒ ชั่วโมง

ปฏิบัติการที่ ๒ ฝึกปฏิบัติเขียนการทบทวนวรรณกรรมและกรอบแนวคิดการสังเคราะห์วรรณกรรม

๒ ชั่วโมง

ปฏิบัติการที่ ๓ ฝึกปฏิบัติการออกแบบการวิจัย

๘ ชั่วโมง

ปฏิบัติการที่ ๔ ฝึกปฏิบัติเขียนข้อเสนอการวิจัยกลุ่ม และการขยายผลการนำผลงานวิจัย

ต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์

๓ ชั่วโมง

ปฏิบัติการที่ ๕ นำเสนอข้อเสนอการวิจัยกลุ่ม และนำเสนอช่องทางการนำผลงานวิจัย

ต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์

๓ ชั่วโมง

ปฏิบัติการที่ ๖ บูรณาการความรู้และนำเสนอการสร้างเครือข่ายวิจัยจากการอบรม

๑ ชั่วโมง

 

๓. กิจกรรมเสริมหลักสูตรอื่นๆ  จำนวน ๒ ชั่วโมง

   ปฐมนิเทศ Homeroom แนะนำสมาชิก เลือกกรรมการรุ่น ปัจฉิมนิเทศ  รับวุฒิบัตร  และพิธีเปิด-ปิดการฝึกอบรม

 

๔. วิธีการฝึกอบรม

          ๔.๑   การบรรยาย

          ๔.๒   ฝึกปฏิบัติ และทำกิจกรรมร่วมกัน

          ๔.๓   ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

 

๕. วิทยากร

๕.๑ ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (แม่ไก่)จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย วช.ที่ลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการฯ ร่วมกัน

๕.๒ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและมหาวิทยาลัยเครือข่าย วช. ที่ลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการฯ

 

๖. คุณสมบัติ และการพิจารณาผู้เข้ารับการฝึกอบรม

          ๑. วุฒิการศึกษา                     ปริญญาตรี ขึ้นไปหรือเทียบเท่า

          ๒. อายุ                                ไม่เกิน ๕๐ ปี ณ ปีที่สมัคร

          ๓. สัญชาติ                           ไทย

          ๔. ประสบการณ์การทำงาน        ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน หรือหน่วยงานท้องถิ่น

          ๕. ประสบการณ์ด้านการวิจัย      มีประสบการณ์ด้านการวิจัย ไม่เกิน ๒ ปี และ ไม่เคยเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย

          ๖. คุณสมบัติเฉพาะด้าน          ๖.๑ กรณีเป็นอาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือสูงกว่า

                                                   ๖.๒ กรณีเป็นบุคลากรภาครัฐ/สถาบันการศึกษาต้องไม่มีตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษหรือเทียบเท่า หรือสูงกว่า

                                                   ๖.๓ กรณีอื่นๆ ที่ไม่กำหนด ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจคณะทำงานฯของ วช. พิจารณาเป็นรายกรณี

          ๗. ต้องไม่เป็นนิสิตหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเอก ในมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการจัด

          ๘. หน่วยงานเครือข่ายรับสมัครและพิจารณาคัดเลือกและประกาศรายชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม

          ทั้งนี้  ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดโครงการและสมัครได้ที่ มหาวิทยาลัยเครือข่าย วช. ที่ลงนามความร่วมมือทางวิชาการฯ

 

๗. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

          จำนวนรุ่นละประมาณ ๕๐-๗๐ คน

 

๘. ระยะเวลาการฝึกอบรม

          รุ่นละ ๕ วัน เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๙.๐๐ น. จำนวน ๔๐ ชั่วโมง

 

๙. วันและสถานที่ฝึกอบรม

            วันที่ ๑-๕ เมษายน ๒๕๖๒ ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

 

๑๐. การสมัครเข้ารับการฝึกอบรม

          ผู้ที่สนใจสมัครเข้ารับการฝึกอบรม และได้รับอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัดให้สมัครเข้ารับการฝึกอบรม สามารถสมัครได้ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โทร ๐๗๕-๒๐๔๐๗๐ มือถือ ๐๙๒-๒๖๐-๐๔๓๙ E-mail : chariyaphon.c@rmutsv.ac.th

 

๑๑. การประเมินผล

         ๑๑.๑ ประเมินความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการฝึกอบรม

         ๑๑.๒ ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยพิจารณาจาก

            ๑๑.๒.๑  จำนวนเวลาการเข้ารับการฝึกอบรมในแต่ละกิจกรรมต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของจำนวนเวลาอบรมทั้งหมดที่กำหนดในหลักสูตรและไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของจำนวนเวลาในภาคทฤษฎี และไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของจำนวนเวลาในภาคปฏิบัติ

            ๑๑.๒.๒  ข้อเสนอโครงการวิจัยของกลุ่ม

            ๑๑.๒.๓ ประเมินความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยการประเมินตนเองก่อนและหลังการอบรม

 

๑๒. การติดตามและประเมินผลภายหลังการฝึกอบรม

เพื่อการพัฒนายกระดับศักยภาพนักวิจัยไทย

        ๑๒.๑ ติดตามผลผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลังสิ้นสุดการฝึกอบรม โดยการส่งแบบสอบถาม การสัมภาษณ์

        ๑๒.๒ จัดให้มีการสัมมนาเพื่อติดตามผลการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานภายหลังจัดอบรมหรือสร้างเครือข่ายในการทำวิจัยและการสร้างผลงานวิจัยอย่างไร

 

๑๓. เกณฑ์การมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม

             โดยพิจารณาจากเกณฑ์ ดังนี้

             ๑๓.๑ เข้ารับการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร โดยมีจำนวนเวลาเข้าฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐  ของจำนวนเวลาทั้งหมดที่กำหนดในหลักสูตรฝึกอบรม และไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของจำนวนเวลาในภาคทฤษฎีและไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของจำนวนเวลาในภาคปฏิบัติ

             ๑๓.๒ ส่งข้อเสนอโครงการวิจัยของกลุ่ม

 

๑๔. งบประมาณ

             งบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับงบประมาณของหน่วยงานเครือข่าย/หน่วยงานผู้จัด หรืองบประมาณหน่วยงานผู้จัด เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานการฝึกอบรม

 

๑๕. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

             ๑๕.๑  สร้างนักวิจัย ให้มีความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยอย่างมีระบบ

             ๑๕.๒  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปทำวิจัย และปรับปรุงกระบวนการวิจัย ที่หน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             ๑๕.๓  ช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างผลงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงเป็นการเพิ่มจำนวนนักวิจัยที่มีคุณภาพให้แก่ประเทศ

             ๑๕.๔   เพื่อส่งเสริมและยกระดับการวิจัยของประเทศให้ผลการวิจัยตอบสนองภาคการผลิตและภาคบริการ 

             ๑๕.๕  เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยของประเทศ ให้มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้นและสามารถใช้งานวิจัยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

             ๑๕.๖  ได้นักวิจัยมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีเครือข่ายการวิจัย

 

๑๖. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

    สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ๑๗๙ ม.๓ ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง ๙๒๑๕๐ โทร ๐๗๕-๒๐๔๐๗๐ มือถือ ๐๙๒-๒๖๐-๐๔๓๙ E-mail : chariyaphon.c@rmutsv.ac.th

        

     

Like: