-ข่าวมาตรฐานการวิจัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4   ในวันที่ 7มกราคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้ชื่อ “มหาวิทยาลัย - ชุมชนร่วมกันสร้างพันธกิจสัมพันธ์ตามศาสตร์พระราชา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน  (University & Community Engagement with the King’s Philosophy for Sustainable Local Development)"   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://nirc2021.bru.ac.th/

 

Like: 

มาตรฐานการวิจัย

  • เกี่ยวกับมาตรฐานการวิจัย

ด้วยสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวนช.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยมีหลักการและแนวทางดำเนินงาน 3 เรื่อง คือ ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนาปัจจัยเอื้อต่าง ๆ เช่น ระบบมาตรฐาน กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น

เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของ สวนช. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในการกำหนดทิศทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมทั้งปรับปรุงระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยมีภารกิจสำคัญประการหนึ่ง คือ การจัดทำมาตรฐานการวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางและหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการระบบการวิจัยให้มีมาตรฐานเดียวกัน และจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการวิจัยในระดับหน่วยงานวิจัย

ปัจจุบัน วช. ได้มีการพัฒนามาตรฐานการวิจัยของประเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานการวิจัยทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ไปใช้ในกระบวนการวิจัย เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการวิจัยของประเทศให้ได้ผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยกำหนดให้มีมาตรฐานการวิจัยที่สำคัญ ใช้เป็นกลไกในการกำกับ ตรวจสอบและรับรอง การรักษามาตรฐานในกระบวนการดำเนินงานวิจัย โดยมาตรฐานที่ดำเนินการฯ ดังกล่าว ได้แก่ มาตรฐานการวิจัยในคน มาตรฐานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์” มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ประเมินโครงการวิจัย ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ รวมทั้งจริยธรรมนักวิจัย เป็นต้น” 

 

 

มาตรฐานการวิจัยห้องปฏิบัติการ

 -โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย link

-เข้าสู่ระบบ ESPReL 

 

  -เอกสาร Download

  -แบบฟอร์มคำขอประเมินห้องปฏิบัติการเบื้องต้น Click

  -Download แบบฟอร์ ESPReL Checklist (ไฟล์ Word) Click here เพื่อ Download

แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
(Safety Guideline for Laboratory)
   [ดาวน์โหลด]

ผู้เขียน: โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย
Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand “ESPReL”

พิมพ์ครั้งแรก: พฤษภาคม 2555

ISBN: 978-974-326-613-3

สาระโดยย่อ: เนื้อหาโดยสรุปของกระบวนการและวิธีดำเนินงานด้านต่างๆ ของการพัฒนาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ บนพื้นฐานที่ครอบคลุม และครบวงจร พร้อมเอกสารความรู้ประกอบด้วย รายละเอียดของวิธีดำเนินการของขั้นตอนต่างๆ
   

คู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2
[Lab Safety Inspection Manual, Second Edition]
    [ดาวน์โหลด]

ผู้เขียน: โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย
Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand “ESPReL”

พิมพ์ครั้งแรก: สิงหาคม 2558

ISBN: 978-616-551-954-0

สาระโดยย่อ:รายการสำรวจสภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ (Checklist) เป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการสำรวจและประเมินสภาพห้องปฏิบัติการด้วยตนเอง 7 องค์ประกอบ พร้อมคำอธิบายประกอบการกรอก Checklist แต่ละองค์ประกอบ

   
ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ : พัฒนาได้อย่างไร
ใช้จริยธรรมสร้างความตระหนักรู้สู่วัฒนธรรม
    [ดาวน์โหลด]

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร

พิมพ์ครั้งแรก: พฤษภาคม 2555

สาระโดยย่อ: บทสรุปภาพรวมจากผลการดำเนินงานของ “โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย” (Enhancement of Safety Practice in Research Laboratory in Thailand, ESPReL) และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการยกระดับมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย
   
บนเส้นทางระบบมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ    [ดาวน์โหลด]

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร

พิมพ์ครั้งแรก: พฤษภาคม 2556

สาระโดยย่อ: บทสรุปภาพรวม จากผลการดำเนินงานของ “โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand, ESPReL)” สร้างความพร้อมเพื่อการประกาศเป็นนโยบายส่งเสริมความปลอดภัยต่อไป

 


 

Like: 

การอบรมด้านจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งจะดำเนินการแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. หลักสูตรพื้นฐาน (Basic course) สำหรับนักวิจัยใหม่ที่ไม่เคยเข้ารับการอบรมมาก่อน หรือเคยเข้ารับการอบรมมาแล้วและต้องการทบทวนความรู้พื้นฐาน ใช้เวลา 1 วัน โดยเนื้อหามีทั้งทฤษฎี การบรรยาย การตอบข้อซักถาม และขั้นตอนในการส่งขอการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน

2. หลักสูตรทบทวน (Refresher Course)  สำหรับนักวิจัยที่มีประสบการณ์ และเคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรพื้นฐานมาแล้ว ใช้เวลาครึ่งวัน มีการแจกกรณีศึกษา อภิปรายกลุ่ม และการตอบข้อซักถาม และ มีการบรรยายประเด็นปัญหาที่สำคัญหรือเป็นข้อถกเถียง นำเสนอกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม  

Like: 

การขออนุญาตให้ศึกษาวิจัย หรือจำหน่าย ส่งออก หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1.1

Like: