มทร.ศรีวิชัย จัดนิทรรศการรายงานผลการวิจัยในระยะ 9 เดือน แผนงานวิจัยการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีภายใต้บริบท “เขา ป่า นา เล”

 วันที่ 29 เมษายน 2565 หน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มุ่งเน้นการทำงานวิจัยแบบบูรณาการศาสตร์ ระหว่างนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ทุกพื้นเพื่อผสานองค์ความรู้ทางด้านวิชาการร่วมทำงานพัฒนา องค์ความรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสม นวัตกรรมพร้อมใช้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนสังคมแก้ปัญหาความต้องการของพื้นที่ หวังการกระจายรายได้ในชุมชน ด้วยโครงการการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีภายใต้บริบทชุมชน “เขา ป่า นา เล” ในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี อาจารย์ธานินทร์ ผะเอม ประธานแผนงานชุมชนนวัตกรรม พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ เครือข่ายภาคีหน่วยงานของภาครัฐและเองชนรวมไปถึงนักวิจัยของมหาวิทยาลัย ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานในระยะ 9 เดือน ต่อผู้ทรงคุณวุฒิและกลุ่มหน่วยงานที่เข้าร่วมโดยได้มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงประยุคการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในนาม ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ และแผนการดำเนินงานตามพัธกิจของมหาวิทยาลัยภายใต้กรอบ Flagship ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นโครงการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2564 ที่ มหาวิทยาลัยฯ ได้รับสนับสนุนจากหน่วยหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนายกระดับพื้นที่(บพท.) ภายใต้แพลตฟอร์มการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างขีด ความสามารถของชุมชนในการเรียนรู้และรับปรับใช้นวัตกรรม สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงและจัดการ ปัญหาในชุมชน พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นโอกาสที่มหาวิทยาลัยฯจะใช้เป็นเครื่องมือนำองค์ความรู้ไปสู่การพัฒนาพื้นที่เพื่อหนุนเสริมความเข้มแข็งของชุมชน สู่ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

          ภายในงานได้มีการแสดงผลงานวิจัยในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 10 โครงการวิจัยย่อย มีการวางระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัย แบ่งออกเป็น มิติต่างๆ ประกอบด้วย “มิติชุมชนเขา” นวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพขมิ้นด้วงของกลุ่มผู้ปลูกขมิ้นด้วงบ้านวังหอนอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช “มิติชุมชนป่า” นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงของชุมชนตำบลควนกรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ,การยกระดับกระบวนการผลิตเมล็ดโกโก้แห้งให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน: กรณีศึกษาตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช “มิติชุมชนนา” นวัตกรรมการจัดการอาหารโคเนื้อในตำบลดุสิต อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัด นครศรีธรรมราช ,การพัฒนาอาหารโปรตีนปลอดภัยจากปลานิลเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ชุมชนบ้านวัดใหม่ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช “มิติชุมชนเล”นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของอาหารทะเลต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนชายฝั่งวิถีใหม ,นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ปลาหวานชุมชนบ้านตะเสะ      อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ,การยกระดับการแปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ด้วยนวัตกรรมตู้อบแห้งอัจฉริยะและตลาดออนไลน์, การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพจากฐานทรัพยากรโคลนธรรมชาติบ่อน้ำพุเค็มร้อนในพื้นที่ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง และการบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนจากงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัดตรัง โดยการดำเนิน ในพื้นที่ทำงานวิจัยเพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรม จำนวน 15 ตำบล ประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดตรัง 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลตะเสะ ตำบลหาดสำราญ ตำบลบ่อหิน ตำบลน้ำผุด ตำบลนาหมื่นศรี ตำบลโคกสะบ้า ตำบลละมอ ตำบลกะช่อง และตำบลนาข้าวเสีย และพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 6  ตำบล ได้แก่ ตำบลดุสิต ตำบลทุ่งใหญ่ ตำบลสระแก้ว ตำบลควนกรด ตำบลวังอ่าง และตำบลท้องเนียน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การยกมาตรฐานการผลิตและแปรรูป และการบริหารจัดการตลาดเพิ่มโอกาสทางการตลาด ซึ่งพบว่ามีเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนวัตกรรมพร้อมใช้ จำนวน 23 ผลงาน สามารถสร้างนวัตกรชาวบ้าน จำนวน 84 คน 

ด้าน นางอารีย์  มั่นซิ้ว ชาวบ้านนวัตกรด้านการนวดแผนไทยในกลุ่มงานวิจัยการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพจากฐานทรัพยากรโคลนธรรมชาติบ่อน้ำพุเค็มร้อนในพื้นที่ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา  จังหวัดตรัง กล่าวว่าตนได้มีความรู้และทักษะด้านงานบริการเพิ่มมากขึ้นสร้างความเชื่อมั่นและความประทับให้กับผู้มาใช้บริการนวดสปาได้เป็นอย่างดีรวมถึงการมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากอาชีพเสริมทำให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัว

เพื่อให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ระยะ 5 ปี ตามวิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาภูมิภาคอย่างมั่นคง” ในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ไปสู่เป้าหมาย เป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อสังคม” ต่อไป

Like: