You are here

Home » Download แบบฟอร์ม/เอกสาร

บทความวิชาการเพื่อสังคม ใช้รูปแบบการเขียนตาม ประกาศของ ก.พ.อ. ฉบับที่ 9 ปี พ.ศ. 2559 เป็นแนวทางในการจัดทำเอกสารโดยต้องมีคำอธิบายและชี้แจง ในหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้ให้ชัดเจน

1. บทคัดย่อ

2. สภาพการณ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

3. การมีส่วนร่วมและการยอมรับของสังคมเป้าหมาย

4. กระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

5. ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่ใช้ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น

6. การคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว

7. การประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

8. แนวทางการติดตามและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ต่อไป

9. เอกสารอ้างอิง

  • การเตรียมต้นฉบับบทความ
  • รูปแบบการจัดเรียงต้นฉบับบทความ

        จัดเรียงต้นฉบับในกระดาษ A4 โดยกำหนดการตั้งหน้ากระดาษ ขอบบน 1 นิ้ว (2.5 ซม.) ขอบล่าง 1 นิ้ว (2.5 ซม.) ขอบซ้าย 3 ซม. และขอบขวา 2 ซม. บทความภาษาไทยใช้ตัวอักษร Angsana New พิมพ์แบบเสมอหน้า-หลัง (justified) โดยกำหนดขนาดของตัวอักษร ดังรายละเอียดต่อไปนี้

        ตัวอักษรในหัวข้อเรื่องหลักขนาด 18 pts. (ตัวหนา)

        ตัวอักษรในหัวข้อเรื่องรองขนาด 16 pts. (ตัวหนา)

        ตัวอักษรส่วนเนื้อหาขนาด 16 pts.

        โดยเนื้อหาของบทความต้องมีความยาวไม่เกิน 20 หน้า และใส่หมายเลขหน้ากำกับทุกหน้า

  • รายละเอียดการจัดเรียงต้นฉบับบทความ

        ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรสั้นกะทัดรัดได้ใจความครอบคลุม ตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง จัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ กำหนดให้ชื่อเรื่องภาษาไทยใช้ตัวอักษรขนาด 20 pts. ตัวหนา และชื่อเรื่องภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร ขนาด 18 pts. ตัวหนา

ชื่อผู้เขียน ชื่อผู้เขียนต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ชื่อโดยไม่ใช้คำย่อ จัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ กำหนดให้บทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pts.

        ชื่อผู้เขียนต้องมีการกำกับหมายเลขยกกำลังต่อท้าย มีการระบุสังกัดหรือสถานที่ทำงานไว้ในส่วนของเชิงอรรถในหน้าเดียวกัน พร้อมทั้งระบุผู้นิพนธ์ประสานงาน (corresponding author) โดยทำเครื่องหมาย * ไว้หลังตัวเลข ระบุ E-mail และเบอร์โทรผู้นิพนธ์ประสานงาน ในบทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร ขนาด 12 pts.

บทคัดย่อ เนื้อหาของบทคัดย่อต้องระบุให้ครอบคลุมถึงบทนำ วิธีการดำเนินการวิจัย สรุปและวิจารณ์ผลตามลำดับ โดยต้องมีทั้งบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 300 คำ

คำสำคัญ บทความต้องมีการกำหนดคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยพิมพ์ต่อจากเนื้อหาของบทคัดย่อ ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความประมาณ 3-5 คำ คำสำคัญภาษาอังกฤษต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ

 

เนื้อหา       

        เนื้อหาของบทความในวารสารวิจัยเพื่อสังคม กำหนดให้มีการระบุรายละเอียดในส่วนของเนื้อหา ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อใช้เสนอผลงานวิจัยในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

               1. สภาพการณ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

               2. การมีส่วนร่วมและการยอมรับของสังคมเป้าหมาย

               3. กระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

               4. ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่ใช้ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น

               5. การคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว

               6. การประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

               7. แนวทางการติดตามและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ต่อไป

ทั้งนี้ จากกรอบในการจัดทำบทความวิชาการเพื่อรับใช้สังคม ทั้ง 7 ข้อ ผู้เขียนสามารถศึกษารายละเอียดการเขียนบทความได้จาก “รายละเอียดของคู่มือแนวทางงานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม  ซึ่งจัดทำโดยสถาบันคลังสมองของชาติ

ภาพและตาราง การนำเสนอรูปภาพและตาราง ให้พิมพ์คำว่า “ภาพที่” “ตารางที่” เป็นตัวหนา มีการอธิบายรายละเอียดของภาพ/ตาราง ระบุแหล่งที่มาของภาพ และวันเดือนปีที่ถ่ายหรือได้ มาซึ่งภาพ/ตาราง ขนาดของภาพและตารางให้กำหนดตามความเหมาะสม โดยให้อยู่ในรูปแบบพร้อมตีพิมพ์ และส่งไฟล์รูปเฉพาะมาด้วย

การอ้างอิง เอกสารที่นำมาอ้างอิงในเนื้อความต้องตรงกับเอกสารที่ปรากฏในส่วนของรายการอ้างอิงท้ายบทความ ระบบการอ้างอิงให้ใช้ระบบนาม-ปี โดยการอ้างอิงเอกสารภาษาไทยให้ใช้ชื่อตัว การอ้างอิงเอกสารภาษาอังกฤษให้ใช้ชื่อสกุล

          การอ้างอิงในบทความ แบ่งเป็นการอ้างอิงในเนื้อหา และการอ้างอิงในรายการอ้างอิง สำหรับการอ้างอิงในเนื้อหามี 2 รูปแบบคือ การอ้างอิงโดยวางข้อมูลไว้หน้าข้อความ และการอ้างอิงโดยวางข้อมูลไว้ท้ายข้อความ การอ้างอิงในเนื้อหาจะมีความแตกต่างกันไปตามจำนวนผู้แต่ง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

รูปแบบการอ้างอิง

การอ้างอิงในเนื้อหาหน้าข้อความ

การอ้างอิงในเนื้อหาท้ายข้อความ

ผู้แต่งคนเดียว

ชื่อ (ปีพิมพ์, น. ) / Surname (Date )

ตัวอย่าง

นุชนารถ (2551)

Adam (2015)

 

(ชื่อ, ปีพิมพ์, น. ) / (Surname, Date )

ตัวอย่าง

(นุชนารถ, 2551)

(Adam, 2015)

 

ผู้แต่ง 2 คน

ชื่อคนที่1 และคนที่2 (ปีพิมพ์)

Surname1 and Surname2 (Date)

ตัวอย่าง

นุชนารถ และประภัสสร (2551)

Adam and Keegan (2015)

 

(ชื่อคนที่1 และคนที่2, ปีพิมพ์)

(Surname1 & Surname2, Date)

ตัวอย่าง

(นุชนารถ และประภัสสร, 2551)

(Adam and Keegan, 2015)

 

 

ผู้แต่งมากกว่า 2 คน

แต่ไม่ถึง 6 คน

ชื่อคนที่1, คนที่2, และคนที่3 (ปีพิมพ์)

Surname1, Surname2, and Surname3 (Date)

ตัวอย่าง

คมศร, นัดดา, และกิ่งแก้ว (2553)

Kate, William, and Domon (2008)

 

(ชื่อคนที่1, คนที่2, และคนที่3, ปีพิมพ์)

(Surname1, Surname2, & Surname3, Date)

ตัวอย่าง

(คมศร, นัดดา, และกิ่งแก้ว, 2553)

Kate, William, and Domon (2008)

 

ผู้แต่งมี 6 คน หรือมากกว่า

ชื่อคนที่1 และคณะ (ปีพิมพ์)

Surname1 et al. (Date)

ตัวอย่าง

ศรีสุภา และคณะ (2550)

Green et al. (2009)

 

(ชื่อคนที่1 และคณะ, ปีพิมพ์)

(Surname1 et al., Date)

ตัวอย่าง

(ศรีสุภา และคณะ, 2550)

(Green et al., 2009)

 

การอ้างอิงในรายการอ้างอิง ให้ผู้วิจัยรวบรวมเอกสารทั้งหมด ที่ผู้วิจัยได้ใช้อ้างอิงในการเขียนบทความ ระบุรายชื่อเอกสารอ้างอิง โดยเรียงลำดับเอกสารอ้างอิงภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยเอกสารภาษาต่างประเทศ ทั้งนี้ให้ เรียงตามลำดับอักษร การจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ ให้ยึดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • วารสาร

 ชื่อผู้เขียน (ให้เขียนชื่อเต็ม  ตามด้วยชื่อสกุล).  ปีที่พิมพ์.  ชื่อบทความ.  ชื่อวารสาร (ใช้ชื่อเต็ม) ปีที่ (ฉบับที่): หน้าที่ปรากฏบทความ.

วรรณวิลัย  ไชยสาร.  2550.  การเผาซินเตอร์แบบสองระยะของเซรามิกแบเรียมไทเทเนต.วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 3(2): 149–158.

สำหรับภาษาอังกฤษใช้เช่นเดียวกับภาษาไทย แต่ชื่อผู้เขียนใช้นามสกุลขึ้นก่อน ตามด้วยอักษรย่อตัวแรกของชื่อตัว ชื่อกลาง ตามลำดับ

Sultana, N., Kasem, M.A., Hossain, M.D. and Alam, M.S.  1998.  Biochemical changes of some promising lines of Yard Long Bean due to the infection of Yellow Mosaic virus.  Thai Journal of Agricultural Science 31(3): 322–327.

Katayama, S.  2002.  Coexistence of resident and anadromous pond smelt, Hypomesus nipponensis, in Lake Ogawa.  Fisheries Science 68 (Suppl. I): 33–44.

  • หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อหนังสือ.  ครั้งที่พิมพ์.  ผู้จัดพิมพ์, สถานที่พิมพ์.

สุวัจน์  ธัญรส.  2550.  วิทยาศาสตร์ทางทะเลเบื้องต้น.  โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

Hutcheson, G.D. and Sofroniou, N.  1999.  The Multivariate Social Scientist: Introductory Statistics Using Generalized Linear Models.  SAGE Publications, London.

  • รายงานการประชุม/สัมมนา

ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อเรื่อง, หน้าที่ตีพิมพ์. ใน ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ (ถ้ามี).  ชื่อการประชุม  ครั้งที่.  สำนักพิมพ์ (หรือหน่วยงานที่จัดการประชุม), สถานที่พิมพ์.

สุธน  ตั้งทวีวิวัฒน์ และ บุญล้อม  ชีวะอิสระกุล.  2533.  การใช้เมล็ดทานตะวันเป็นแหล่งโปรตีนและพลังงานในอาหารสัตว์ปีก, น. 47-59.  ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ครั้งที่ 28 (สาขาสัตวแพทย์และประมง).  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Henderson, S.  1978.  An evaluation of the filter feeding fishes, Silver and bighead Carp, for Water quality improvement, pp. 121-136.  In R.O. Smitherman, W.L. Shelton and J.H.  Grover, eds.  Symposium on The Culture of Exotic Fishes.  American Fisheries Society, Auburn University, Alabana.

  • วิทยานิพนธ์

ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อวิทยานิพนธ์.  ระดับวิทยานิพนธ์, ชื่อสถาบันการศึกษา.

ประเสริฐ  ทองหนูนุ้ย.  2543.  การจำแนกชนิดและการกระจายของปลาวัยอ่อนในป่าชายเลน  อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง.  วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

  • ข้อมูลสารสนเทศ (World Wide Web)

ชื่อผู้เขียน.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อเรื่อง.  ชื่อหัวของเว็บไซด์.  แหล่งที่มา: ชื่อเว็บไซต์, วัน เดือน ปีที่สืบค้นข้อมูล.

มัทนา  มากแย้ม, ปทุมพร  สุขยิ่ง, นพวรรณ  หลากสิน, วิทยา  แย้มนุ่น, พรทิพย์  แก่งทุกทาง, ผุกามาศ  เกศศรี, ภูมิพงษ์  พร้อมพันธ์ และ สาวิตรี  เรืองเดช.  2541.  ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง.  คู่มือส่งเสริมการเกษตรที่ 43.  แหล่งที่มา: http://www.ku.ac.th/agri/com/com.htm, 27 มีนาคม 2541.

Sillery, B.  1998.  Urban rainforest: An African jungle come to life on New York’s west side.  Popular Science.  Available Source: http://www.epnet.com/hostrial/hostrial/login.htm, March 27, 1998.