You are here

Home » การส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี

ประกาศการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 10
และงานประชุมวิชาการนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 
9
 

หลักเกณฑ์เงื่อนไขการนําผลงานเข้าร่วมประกวดและการตัดสิน

1. ความเป็นมา

               มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง ได้ร่วมมือกันจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติขึ้น โดยจัดมาทั้งสิ้น ๙ ครั้ง ซึ่งจะหมุนเวียนความรับผิดชอบการเป็นเจ้าภาพในการจัดงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติของคณาจารย์นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การพัฒนางานวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง และหน่วยงานภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป

          ในปีนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน และมติที่ประชุมระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ได้เห็นชอบให้จัดประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมขึ้น ภายในงานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีนำาเสนอ เผยแพร่สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของนักวิจัย อาจารย์และนักศึกษา ออกสู่สายตาสาธารณะชนเพื่อก็ให้เกิดประโยชน์และต่อยอดการใช้ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่อสังคมและชุมชนต่อไป

2. หัวข้อการประกวด    

               ผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีความสร้างสรรค์สอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเทศไทย

3. ประเภทการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

  • ประเภทบุคคลทั่วไป นักวิจัย อาจารย์

             1.) คุณสมบัติผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเป็น บุคคลทั่วไป หรืออาจารย์ หรือนักวิจัยในระดับอุดมศึกษาหรืออาชีวะศึกษา ที่ได้รับการยินยอมจากสถาบันการศึกษาต้นสังกัด

             2.) กำหนดผู้นำเสนอผลงานจำนวน 1 คน

  • ประเภทอุดมศึกษา (นักศึกษาระดับปริญญาตรี) 

             1.) คุณสมบัติผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี

             2.) กำหนดผู้นำเสนอผลงานจำนวน 1 คน

             3.) สามารถมีอาจารย์ที่ปรึกษาเข้าร่วมการประชุมได้ไม่เกิน 1 คนต่อผลงาน

4. สาขาที่จัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

             ตามที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในฐานะเจ้าภาพในจัดการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 10 นั้น จึงกำหนดสาขาในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมดังนี้

             สาขา ที่ 1 : สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อการเกษตร

             สาขา ที่ 2: สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม

             สาขา ที่ 3: สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อสังคมและวัฒนธรรม

             สาขา ที่ 4: สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อการแพทย์และสาธารณสุข

             สาขา ที่ 5: สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อพลังงาน

โดยมีรายละเอียดในแต่ละสาขาดังนี้

สาขาที่1 : กลุ่มสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและทางการเกษตร/ปศุสัตว์/ประมง อาทิ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว การออกแบบบรรจุภัณฑ์หีบห่อ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร/ปศุสัตว์/ประมง เครื่องมือ/เครื่องจักรกล/อุปกรณ์ด้านการเกษตร/ปศุสัตว์/ประมง การขนส่ง/โลจิสติกส์ของสินค้าทางการเกษตร/ปศุสัตว์/ประมง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สาขาที่2 : กลุ่มสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม ประกอบด้วย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมหนัก เช่น ชิ้นส่วน อะไหล่ เครื่องจักรกลและโลหะการ หุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ อากาศยานไร้คนขับ ดิจิทัล และระบบอัตโนมัติ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สาขาที่3 : กลุ่มสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อสังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของคนในสังคม การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมวัฒนธรรม และการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เช่น สื่อการเรียนการสอน สื่อทางการศึกษา สื่อการเรียนรู้ เกมส์ ของเล่น กิจกรรมสันทนาการ การออกแบบหลักสูตร/เทคนิคการเรียนรู้/การเรียนการสอน งานสร้างสรรค์ งานสถาปัตยกรรม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สาขาที่4 : กลุ่มสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบด้วย ผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขอนามัยที่ดีต่อประชาชน เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เครื่องมือ/อุปกรณ์/ชุดทดสอบทางการแพทย์และสาธารณสุข ผลิตภัณฑ์เวชสำอางค์ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม นวัตกรรมเพื่อลดอุบัติเหตุ/ลดอัตราการตาย นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ/ผู้ทุพพลภาพ นวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางกายและทางจิต และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อ

สาขาที่5 : กลุ่มสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อพลังงาน ประกอบด้วย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน เช่น เทคโนโลยีในการผลิตพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด เทคโนโลยี/อุปกรณ์ เพื่อการลดใช้พลังงาน ประหยัดพลังงาน การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงาน การพัฒนาของเสียเพื่อนำกลับมาใช้เป็นพลังงาน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

5. เงื่อนไขการส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเข้าประกวด

             5.1 สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นผลงานในระดับอุดมศึกษา ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องอยู่ระหว่างศึกษาในสถาบันการศึกษาต้นสังกัด

             5.2 สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ โดยมีเป้าหมายในการนำไปใช้จริงหากเป็นผลงานที่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่ง ให้แนบหลักฐานเพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการ

             5.3 สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดต้องแสดงออกถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือมีความชาญฉลาดในการประดิษฐ์คิดค้นหรือการดัดแปลง มีความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้งาน ใช้วัสดุในการประดิษฐ์ที่เหมาะสมกับผลงาน หาได้ง่าย มีต้นทุนต่ำ โดยต้องมีการนำองค์ความรู้จากการวิจัยหรือหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ หรือสนับสนุนการประดิษฐ์ค้นคว้า

             5.4 สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวด ต้องไม่เคยได้รับรางวัลการประกวดในระดับชาติและนานาชาติมาก่อน

             5.5 ผู้จัดจะไม่พิจารณาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ลอกเลียนแบบผลงานฯ ของผู้อื่น

             5.6 สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดและผ่านการคัดเลือกให้นำเสนอผลงาน ต้องทำโปสเตอร์นำเสนอผลงานและนำชิ้นงานหรือแบบจำลองหรือวิดีทัศน์แสดงการทำงานของชิ้นงานมาแสดงในวันจัดงาน

             5.7 ผู้ที่ผ่านรอบคัดเลือก จะได้ลงทะเบียนเข้าร่วมการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมภายในเวาลที่กำหนด

6.ขั้นตอนการสมัคร

    6.1 ดาวน์โหลดใบสมัคร http://rmutcon2018.rmutsv.ac.th Download

             6.2 ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องกรอกรายละเอียด ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และรายละเอียดอื่นๆในใบสมัครอย่างชัดเจน ครบถ้วน

             6.3 ส่งใบสมัครได้ที่ http://rmutcon2018.rmutsv.ac.th ภายในเวลาที่กำหนด

7. การลงทะเบียนและสิทธิประโยชน์การประกวดผลงาน

               อัตราค่าลงทะเบียนดังนี้

ประเภท

อัตราค่าลงทะเบียนล่วงหน้า

(จนถึง 15 กรกฎาคม 2561)

อัตราค่าลงทะเบียนทั่วไป

(ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.- 1 ส.ค. 2561)

การประกวดแข่งขันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

นักวิจัย อาจารย์ บุคคลทั่วไป

2,000 บาท/คน/ผลงาน

 

นักวิจัย อาจารย์ บุคคลทั่วไป

2,500 บาท/คน/ผลงาน

 

นักศึกษาระดับปริญญาตรี 

1,500บาท/2 คน/ผลงาน

นักศึกษาระดับปริญญาตรี 

2,000บาท/2 คน/ผลงาน

สิทธิประโยชน์ตามประเภทของการลงทะเบียน

ประเภท

สิทธิประโยชน์

การประกวดแข่งขันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

อาหารเที่ยง 3 มื้อ อาหารว่าง ๖ มื้อ

อาหารเย็น ๑มื้อ

  • สูจิบัตรสำหรับการประกวดแข่งขันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม
  • Flash drive บรรจุไฟล์ Proceedings
  • กระเป๋า/ของที่ระลึก

8. กำหนดการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด

            กำหนดการด้านการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

วัน เดือน ปี

กิจกรรม

1 กุมภาพันธ์ 2561

เปิดรับแบบนำเสนอสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

31 มีนาคม 2561

สิ้นสุดการรับแบบนำเสนอสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

๑๑ เมษายน 2561

ประกาศผลพิจารณารอบคัดเลือกของสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

30 เมษายน 2561

ผู้สมัครยืนยันตอบรับเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

1–3 สิงหาคม 2561

วันงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 10

9.ประเภทรางวัล

9.1 การมอบเหรียญรางวัล

การพิจารณาตัดสินเพื่อมอบเหรียญรางวัลทั้ง 2 ประเภท ในแต่ละสาขา คณะกรรมการจะพิจารณาจากเกณฑ์การตัดสิน โดยกำหนดระดับเกณฑ์คะแนนที่จะได้รับเหรียญรางวัลพร้อมเกียรติบัตรดังนี้

เหรียญทอง ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 80 คะแนน

เหรียญเงิน ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 70 คะแนน

เหรียญทองแดง ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 60 คะแนน

9.2การมอบเงินรางวัลและเกียรติบัตร

9.2.1 เงินรางวัลประเภทบุคคลทั่วไป นักวิจัย อาจารย์

         -รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของการประกวด ในแต่ละสาขา จะได้รับ โล่เกียรติยศและเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล จำนวน 7,000 บาท

         - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1ของการประกวดในแต่ละสาขา จะได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท

         - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2ของการประกวดในแต่ละสาขา จะได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท

9.2.2เงินรางวัลประเภทอุดมศึกษา (นักศึกษาระดับปริญญาตรี)

         -รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของการประกวด ในแต่ละสาขา จะได้รับ โล่เกียรติยศและเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท

         - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1ของการประกวดในแต่ละสาขา จะได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท

         - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2ของการประกวดในแต่ละสาขา จะได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 2,000 บาท

10.การตัดสินรางวัล

         10.1 รอบคัดเลือก พิจารณาคัดเลือกจากรายละเอียดผลงาน ตามเอกสารใบสมัคร

         10.2 รอบตัดสิน พิจารณาจากผลงานจริง หรือแบบจำลองหรือวิดีทัศน์แสดงการทำงานของชิ้นงานและโปสเตอร์ ขนาด 100  x 125 เซนติเมตร โดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ ในเวลาที่กำหนด ณ โรงแรมเรือรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

         10.3การพิจารณาตัดสินของคะแนนกรรมการถือเป็นที่สุด


  • กำหนดการ การประกวดสิ่งประดิษฐ์ Download