มทร.ศรีวิชัย รายงานผลการดำเนินงานด้านการวิจัย เสนอต่อคณะผู้แทนจากสำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.)

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้มีโอกาสต้อนรับคณะผู้บริหารจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และผู้แทนจากสำนักงบประมาณ เพื่อเยี่ยมชมกระบวนการดำเนินงานด้านวิจัย วิชาการภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เรารู้จักในงบประมาณ ววน.

          รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง ผศ.โกสินทร์ พัฒนมณี เป็นตัวแทนท่านอธิการบดี นำทีมรองอธิการบดี ผศ.อุดร นามเสน ผศ.ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม ผศ.สมคิด ชัยเพชร พร้อมทีมงาน ผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา สำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนักวิจัย ร่วมนำเสนอกิจกรรมและผลงาน จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยการจัดการสู่การประโยชน์ไปยังสังคม โดยมี ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี รายงานผลการดําเนินงานด้านการวิจัยและแผนการพัฒนาด้านการวิจัย ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่มีการดำเนินงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชนและการบูรณาการงานวิจัยให้สามารถตอบโจทย์ของพื้นที่บริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดชุมพร ทั้งยังนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินการวิจัยมากขึ้น ทำให้สามารถตอบโจทย์ ทั้งด้านสังคม เศรฐกิจ และสิ่งแวดล้อม งบประมาณ ณ โรงแรมเรือรัษฎา จังหวัดตรัง ทั้งนี้ทาง สกสว.ได้กล่าวชื่นชมการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ที่มีผลผลิตดีขึ้นจากการยืนยันในระบบ NRIIS  โดยทาง วิทยาเขตตรัง ยังใช้จุดแข็งด้านการทำงานกับภาคีเครือข่ายในการเชิญ ส่วนราชการ ภาคเอกชน ผู้แทนชุมชน มาร่วมยืนยันการขยายผลไปสู่การใช้งานจริง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มจากมิติต่างๆ

ภายในงานได้มีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน รวม 6 ผลงาน ประกอบด้วย

1. ระบบติดตามคุณภาพน้ำเพื่อสนับสนุนการทำการเกษตรแบบเรียลทาม ด้วยเทคโนโลยี IoT

ผู้รับผิดชอบ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์นเรศ ขวัญทอง และ นางสาวศยมน พุทธมงคล

2. การยกระดับพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่สู่ตลาดการแข่งขัน ผู้รับผิดชอบ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศรี ศรีชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาลินี ฉินนานนท์ และคณะ

3. การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ผู้รับผิดชอบ: รองศาสตราจารย์วรพงษ์  บุญช่วยแทน

4. ปูม้า/เกาะสุกร ผู้รับผิดชอบ: ดร.วิกิจ ผินรับ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สุดคนึง ณ ระนอง

5. นวัตกรรมการอนุบาลลูกหอยนางรมด้วยระบบทุ่นลอยน้ำ ผู้รับผิดชอบ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดรสุพัชชา ชูเสียงแจ้ว และอาจารย์กันตินาฎ สกุลสวัสดิพันธ์

6. การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าการผลิตแตงโมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ผู้รับผิดชอบ: ดร.ขวัญตา ตันติกำธน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักษมี วิทยา 

          ช่วงบ่าย ทางสถาบันวิจัยและพัฒนา นำทีมคณะดูงานการพัฒนาฐานชุมชนมิติเกษตร จากงานวิจัยพัฒนาพื้นที่ ชุมชนนวัตกรรมต้นแบบจากการขับเคลื่อนการทำงานวิจัย ในชุมชนบ้านเขาหลัก ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง และชุมชนนาหมื่นศรี ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ได้เจอการรับ ปรับใช้  เทคโนโลยีที่เหมาะสม ของชุมชน นวัตกรชุมชนที่มีขีดความสามารถใหม่ ในการขับเคลื่อนและขยายผลการพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยมีหลักฐานยืนยันทั้งในด้านผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้ รางวัลชุมชนจากองค์กรต่างๆ ภาคีหน่วยงานที่ร่วมยืนยันความสำเร็จและนำไปขยายผล

          ทั้งนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนและรับฟังข้อคิดเห็นผลการดำเนินงานด้านการวิจัยของหน่วยงาน และการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงบประมาณ โดย คุณโกวิทย์ มีกรุณา ที่ปรึกษาสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ รองผู้อำนวยการกำกับดูแลและปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบ ววน. คุณอมรรัตน์ ภูมิวสนะ ผู้อํานวยการกองจัดทํางบประมาณด้านสังคม 2 สํานักงบประมาณ และ ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ว่าการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัย ในปัจจุบัน จะประเมินจากผลการดำเนินของหน่วยงาน และจะต้องมีการประเมินผลลัพธ์ผลกระทบจากการวิจัยที่เกิดขึ้น ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ อย่างไร และในอนาคต มหาวิทยาลัยอาจจะมีการทำงานร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อยกระดับและพัฒนาผลงานวิจัยมากขึ้นอีก จากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวทำให้ทราบว่าผลการดำเนินงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อยู่ในระดับดี และมีผลงานที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงตอบโจทย์สังคมและจะสามารถพัฒนาขึ้นอีกต่อไป

Like: