วันที่ 5-6 กรกฎาคม 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลจัดประชุมติดตามและประเมินผลความก้าวหน้า ระยะ 3 เดือน แผนงานวิจัย“การประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อสร้างขีดความสามารถและโอกาสทางสังคม สำหรับคนจนเป้าหมายในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์” ณ ห้องประชุมโรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค (Century Park Hotel) ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ เป็นผู้อำนวยการแผนงานวิจัย ซึ่งมีโครงการวิจัยย่อยนำเสนอรายงานความก้าวหน้า ดังนี้

- โครงการวิจัยย่อยที่ 1 กระบวนการมีส่วนร่วมยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อสร้างโอกาสและคุณค่าร่วมทางสังคมของคนจนเป้าหมาย พื้นที่วิจัยจังหวัดลำปาง โดย ผศ.สันติ ช่างเจรจา สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

- โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสทางสังคมสำหรับคนจนในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ด้วยการจัดการห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจเกษตรด้วยการประยุกต์ใช้และขยายผลจากเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดย ดร.เครือวัลย์ มาลาศรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

- โครงการวิจัยย่อยที่ 3 โครงการเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสคนจนเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดย อ.สุบรรณ์ ทุมมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด

- โครงการวิจัยย่อยที่ 4 การประยุกต์ใช้นวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับทางสังคม สำหรับคนจนกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร โดย ผศ.ดร.ไกรศรี ศรีทัพไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

- โครงการวิจัยย่อยที่ 5 การประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพในห่วงโซ่โมเดลแก้จนต้นแบบของจังหวัดพัทลุง สู่การแก้ไขความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ โดย ผศ.นพดล  โพชกำเหนิด  คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

- โครงการวิจัยย่อยที่ 6 การเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจชุมชน และโอกาสทางสังคมภายใต้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สำหรับคนจนเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดย ผศ.ซูไฮดี สนิ คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

- โครงการวิจัยย่อยที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมให้กลุ่มเป้าหมายในโมเดลแก้จนจังหวัดยะลา เพื่อยกระดับความมั่นคงของรายได้ในห่วงโซ่ธุรกิจการเกษตร โดย ผศ.กิตติศักดิ์ ชุมทอง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณารายงานความก้าวหน้า ได้แก่ รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ  ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ คุณจิริกา นุตาลัย ที่ปรึกษาแผนงานการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาความยากจน คุณอโศก พลบำรุง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) คุณเบญจมาศ ตีระมาศวณิช ผู้ทรงคุณวุฒิงานวิจัยพัฒนาพื้นที่ คุณสมประสงค์ พยัคฆพันธ์ รองประธานสมาพันธ์ SMEs ประเทศไทย และ ที่ปรึกษาโครงการ SRA คุณจันทนา เบญจาทรัพย์ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ รศ.ดร.บัณฑิต กฤตาคม รองอธิการบดี มทร.อีสาน รศ.นภัทร วัจนเทพินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี  โดยโครงการดังกล่าวนักวิจัยได้รับฟังข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นแนวทางในการปรับแก้ไขรายงานความก้าวหน้าและการดำเนินโครงการวิจัยในระยะต่อไปให้บรรลุวัตถุประสงค์การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสร้างโอกาสทางสังคม และการสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม (SRA)

 

Like: 

วันที่ 30 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ภาคใต้ฝั่งอันดามัน(อพ.สธ.-มทร.ศรีวิชัย) นำโดย ผศ.ดร.ลักษมี วิทยา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน นางสาวอรวรรณ ชุ่มเขียว และ นางสาววารีรัตน์ ขุนทอง เข้าร่วมการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเยี่ยมเยียนพิจารณาให้คะแนนสถานศึกษาฯและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ ประจำปี 2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings เพื่อทำความเข้าใจแนวทางวิธีการกับคณะกรรมการเยี่ยมเยียนพิจารณาให้คะแนนฯ ในการให้คำแนะนำการดำเนินงานถูกตรงตามมาตรฐาน อพ.สธ. โดยมีคุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อํานวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เป็นประธาน โดยมีศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และ ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. รวมถึงหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ทั่วประเทศ เข้าร่วมการประชุมมากกว่า 200 ท่าน

Like: 

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นำโดย ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี ผศ.ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและนักวิจัย เข้าร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 (Regional Research Expo 2023) ครั้งที่ 12 ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2566 ภายใต้แนวคิด "วิจัย นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภาคใต้โมเดล โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิด วัตถุประสงค์เพื่อเร่งให้เกิดการขยายผลการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในระดับพื้นที่เป็นวงกว้างและรูปธรรม ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ผลผลิต ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม ที่เกิดจากการวิจัยของนักวิจัยให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสามารถนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปพัฒนาหรือสร้างสรรค์พร้อมทั้งต่อยอดผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ซึ่งภายในงาน Regional Research Expo 2023 ประกอบไปด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ กิจกรรมประชุมเสวนา กิจกรรมการประกวดผลงานวิจัยเเละนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ กิจกรรมนิทรรศการแสดงผลงาน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ โดยมี ผศ.ดร.สมคิด ชัยเพชร รองอธิการบดี นำทีมนักวิจัยต้อนรับการเยี่ยมชมนิทรรศการของมหาวิทยาลัยฯ ประกอบด้วย นิทรรศการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากการวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคม มทร.ศรีวิชัย” และ นิทรรศการ “ศูนย์วิจัยสาหร่ายพวงองุ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย” เจ้าของผลงาน ผศ.มาโนช ขำเจริญ และ รศ.ดร.ชุตินุช สุจริต จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง

Like: 

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักษมี วิทยา รองผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัย เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มหาวิทยาลัยแม่ข่าย) และมหาวิทยาลัยลูกข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความเข้มแข็งสู่มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเป็นรูปธรรมต่อไป ณ ห้องประชุมวิชัยรัตนากีรณวร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

 

Like: 

สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 26-29 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมเดอะเบด เวเคชั่น ราชมังคลา สงขลา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักษมี วิทยา รองผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวต้อนรับและเปิดโครงการ ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.การุณ ทองประจุแก้ว รองศาสตราจารย์ ดร.ปิ่น จันจุฬา รองศาสตราจารย์ ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สูรีนา มะตาหยง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐทิตา โรจน์ประศาสน์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และวิทยากรด้านภาษาอังกฤษ ได้รับเกียรติจาก ดร.สมพร มณีโชติ และ Mr.Lauro Sadaran Dequina, Jr. จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นวิทยากรร่วมให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาต้นฉบับบทความวิจัยแก่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านสัตวศาสตร์ และด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ให้มีความสมบูรณ์และถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถ submit บทความลงในวารสารระดับชาติและนานาชาติได้ต่อไป

Like: 

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมกับ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโครงการฝึกอบรมการเขียนต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ด้านการประมงและวิทยาศาสตร์ทางน้ำ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านสัตวศาสตร์ และด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 26-29 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ ดร.ชุตินุช สุจริต รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวรายงาน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ​ คณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการและเปิดการอบรม โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.อุทัยรัตน์ ณ นคร ศาสตราจารย์ ดร.เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ เมืองใหม่ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ทองหนูนุ้ย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเครือข่ายภาคใต้ในการเข้าร่วมรับฟังข้อเสนอแนะการปรับปรุงพัฒนาต้นฉบับบทความวิจัยให้มีความสมบูรณ์และสามารถตีพิมพ์บทความในวารสารระดับชาติและนานาชาติได้ต่อไป

Like: 

Pages