วันที่ 4 สิงหาคม 2564 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ภาคใต้ฝั่งอันดามัน(อพ.สธ.-มทร.ศรีวิชัย)จัดการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings โดยเนื้อหาในช่วงเช้าประกอบด้วย

1.การดำเนินงานองค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้

2.การดำเนินงานองค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

และในช่วงบ่ายทางด้านวิทยากรโรงเรียนบ้านทุ่งศาลาและโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข จังหวัดตรัง ได้นำเยี่ยมชมผลการการดำเนินงานของทั้ง 2 โรงเรียน เพื่อสร้างแรงบรรดาลใจให้ผู้เข้าร่วมอบรมในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

Like: 

หน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาร่วมกับโครงการวิจัยชุดประเมินชุมชนนวัตกรรม พื้นที่ตรัง นครศรีธรรมราช และสงขลา แผนงานชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2564 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การประเมินผลกระทบจากการวิจัย (Research Impact Evaluation)” ครั้งที่ 1 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาเชิงพื้นที่ด้วยการถอดบทเรียนชุดโครงการวิจัยนวัตกรรมพัฒนาพื้นที่ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย และการประเมินผลลัพธ์ และผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของชุดโครงการวิจัยนวัตกรรมพัฒนาพื้นที่ ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร รศ.ดร.สุวรรณา ประณีตวตกุล พร้อมด้วย ผศ.ดร. กัมปนาท วิจิตรศรีกมล จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ จากสถาบันคลังสมองของชาติ และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการอบรม พร้อมด้วยทีมจัดการกลางที่นำโดย ดร.สุดคนึง ณ ระนอง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

          กิจกรรมการอบรมในครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการบรรยาย “การประเมินผลกระทบจากการวิจัยของโครงการวิจัย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวรรณา ประณีตวตกุล ที่บรรยายครอบคลุมประเด็นแนวทางการประเมินผลกระทบ แนวคิดในการวัดผลกระทบและคู่เทียบ รวมถึงการตรึงภาพเชื่อมโยงถึงรูปแบบของระยะเวลาจากงานวิจัยสู่การนำมาใช้ประโยชน์

จากนั้นเข้าสู่การบรรยาย “การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์และการวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท วิจิตรศรีกมล ซึ่งได้ขยายกรอบแนวคิดการประเมิน ทฤษฎีและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และเคล็ดลับสำหรับ Research Impact Evaluation “Tips” 

ต่อด้วย กิจกรรมการบรรยาย “แผนที่ผลลัพธ์ (Outcome Mapping) กับการบริหารจัดการ” รวมถึงการแนะนำการใช้ Template เส้นทางสู่ผลกระทบของงานวิจัย และ Excel การคำนวณผลกระทบของโครงการวิจัย โดย ดร.ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์

          ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักวิจัยภายใต้แผนงาน “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” จาก ๒๒ โครงการ และนักวิจัยกลุ่มอื่นๆ ที่สนใจทุกพื้นที่เข้าร่วมอบรมกว่า 100 ท่าน โดยผู้จัดกิจกรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักวิจัยจะได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับโครงการวิจัยได้จริงและนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมพัฒนาสร้างการประเมินผลกระทบจากการวิจัย (Research Impact Evaluation) ต่อไป

 

#ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

#หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

#สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

Like: 

วันที่ 3 สิงหาคม 2564 สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดกิจกรรมโครงการการพัฒนาข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุน ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ชุตินุช  สุจริต รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งในช่วงแรกมีการบรรยายขั้นตอนการส่งข้อเสนอการวิจัยที่จะเสนอของบประมาณผ่านระบบ NRIIS จากผู้ประสานงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา และในส่วนของเนื้อหาการเขียนข้อเสนอการวิจัยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วรากร ลิ่มบุตร จากคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “การเขียนข้อเสนอการวิจัยมิติใหม่ ให้ถูกใจแหล่งทุน”

Like: 

วันที่ 3 สิงหาคม 2564 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ภาคใต้ฝั่งอันดามัน (อพ.สธ.-มทร.ศรีวิชัย) จัดโครงการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings โดยมี ดร.วิกิจ ผินรับ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาฝ่ายสารสนเทศการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งได้รับเกียรติจากอาจารย์โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา และโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข จังหวัดตรัง เป็นวิทยากรในการฝึกอบรม สำหรับเนื้อหาในวันแรกประกอบด้วย

1.การดำเนินงานองค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้

2.การดำเนินงานองค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน

3.การดำเนินงานองค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ

โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมดังกล่าวจากสถานศึกษากว่า 160 ท่าน

Like: 

          วันที่ 2 สิงหาคม 2564 สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดกิจกรรมโครงการการพัฒนาข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุน ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ชุตินุช  สุจริต เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี หอมเขียว อาจารย์สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มาบรรยายในหัวข้อ การเขียนข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนจาก วช. และ อาจารย์บุญรัตน์ บุญรัศมี อาจารย์สังกัดคณะบริหารธุรกิจ บรรยายในหัวข้อ เทคนิคการเขียนโมเดลธุรกิจ Business Model Canvas เพื่อประกอบการขอทุนวิจัย ทั้งนี้ในภาคบ่ายได้มีกิจกรรม แบ่งกลุ่ม workshop ระดมสมองรายแผนงาน จำนวน 11 กลุ่ม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings

Like: 

หน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และคณะทำงานโครงการ “การยกระดับพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่สู่ตลาดการแข่งขัน” ภายใต้แผนงานสำคัญ (Flagship) “มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่” กรอบการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่” (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก และเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ ที่ผ่านการพิจารณาสนับสนุนทุนวิจัยจาก บพท. และ สอวช. ได้จัดกิจกรรมทบทวนแผนงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมาย ครั้งที่ 2 ร่วมกับภาคีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน (Research Impact Evaluation)” ครั้งที่ 1 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings เพื่อรับฟังคำแนะนำ ปรึกษาหารือและแลกเลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินงานโครงการวิจัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดี ประจำวิทยาเขตตรัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ให้เกียรติมาร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวชี้แจงการดำเนินงานวิจัยที่ผ่านมา และทิศทางการดำเนินงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายในอนาคต

          อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากตัวแทนภาคีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดตรัง อาธิ พัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง พาณิชย์จังหวัดตรัง สหกรณ์การเกษตรนาโยง OTOP TRADER ตรัง นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ท่านลือชัย เจริญทรัพย์ ที่ได้ร่วมให้คำแนะนำแนวทางการดำเนินงานในกิจกรรม  และบุคคลสำคัญที่ขาดไม่ได้คือกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน จังหวัดตรัง ที่ยินดีให้ความร่วมมือเข้าร่วมตีแผ่สถานการณ์และสะท้อนปัญหาการปลูกพริกไทยในพื้นที่เป็นอย่างดี

          กิจกรรมจะประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบไม่ได้เลยหากขาดทีมนักวิจัยโครงการ ผู้มีความรู้ความสามารถในศาสตร์ด้านต่างๆ ที่มีความจำเพาะในแต่ละด้านที่จะร่วมกันสานพลังเพื่อให้การดำเนินงานยกระดับพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนในครั้งนี้เดินหน้าไปสู่ความสำเร็จร่วมกันในทุกภาคส่วน ทั้งในด้านของการพัฒนาศักยภาพการผลิตพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนเพื่อยกระดับคุณภาพผลผลิต การจัดการมาตรฐานตลอดกระบวนการผลิตพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์จังหวัดตรัง กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างคุณค่าพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคภายในประเทศ การประเมินห่วงโซ่คุณค่า ผลลัพธ์และผลกระทบของชุดโครงการยกระดับพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่สู่ตลาดการแข่งขัน ได้แก่ ดร.นภัสวรรณ เลี่ยมนิมิตผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวณีย์ ชัยเพชร ดร. อนันตนิจ ชุมศรี อาจารย์เจษฎา ร่มเย็น และทีมงานนักวิจัยทุกท่าน

         ทั้งนี้ ภาคีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ และเกษตรกรในทุกภาคส่วน ต่างมีความยินดีให้คำแนะนำและพร้อมที่จะสานพลังหนุนเสริมการดำเนินงานให้มีการต่อยอดและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

Like: 

Pages