วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม  พ.ศ. 2565 เครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคใต้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเครือข่ายภาคใต้ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยา สุขจันทรา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมรักษ์  รอดเจริญ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อทิพันธ์ เสียมไหม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์  สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รองศาสตราจารย์วรพงค์ บุญช่วยแทน ผู้อำนวยการสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมประชุมหารือการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 8” (The 8th Engagement Thailand Annual Conference 2022) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2665 เพื่อรายงานแผนการดำเนินงานและวางแผนเพื่อเตรียมงานที่จะเกิดขึ้นต่อไป    

Like: 

          วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดงานแถลงข่าว "การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 8 (The 8th Engagement Thailand Annual Conference 2022) จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2565 " โดยมี นายภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง, ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, นางสาวลดาวัลย์ ช่วยชาติ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตรัง, รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง (ตัวแทนเครือข่ายมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้) และนายบรรจง นฤพรเมธี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ร่วมพูดคุยเสวนาในการเตรียมความพร้อมของจังหวัดตรัง ในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีให้การต้อนรับนักวิจัยจากทั่วประเทศที่เข้ามาร่วมงาน Engagement Thailand ครั้งที่ 8 ณ โรงแรมเรือรัษฎา จังหวัดตรัง

.

บรรยากาศภายในงานแถลงข่าวได้มีการจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานที่โดดเด่น รวมทั้งสิ้น 9 ผลงาน ประกอบด้วย

1)การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตไก่ดำบ้านเขาหลักจังหวัดตรัง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน บ้านเขาหลัก อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

2)การพัฒนาศักยภาพการผลิตและกระบวนการแปรรูปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนตลอดห่วงโซ่อุปทาน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

3)นวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพโรบัสต้าพันธุ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ปลูกกาแฟเทือกเขาบรรทัด อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

4)พัฒนาคุณภาพและการตลาดของผ้าทอนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง

5)นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ปลาหวานชุมชนบ้านตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง

6)การยกระดับการแปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลตากแห้งด้วยนวัตกรรมตู้อบแห้งอัจฉริยะและตลาดออนไลน์

7)การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพจากฐานทรัพยากรโคลนธรรมชาติบ่อน้ำพุเค็มร้อนในพื้นที่ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

8)การบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนจากงานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัดตรัง, และ

9)การยกระดับพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่สู่ตลาดการแข่งขัน

.

ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์  ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมกับ สมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม และเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ทั้ง 12 แห่ง ร่วมเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 8 (The 8 th Engagement Thailand Annual Conference 2022) โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และสถาบันคลังสมองของชาติ (KNIT) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขับเคลื่อนพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมให้เกิดความเข้มแข็งภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยในประเทศ และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมและ พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีทักษะความรู้ในการทำวิจัยร่วมกันเพื่อพัฒนาโจทย์และวิธีการที่ครอบคลุมทั้งในเชิง วิชาการและประเด็นของสังคมให้มากขึ้น รวมทั้งการได้รับความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยเครือข่ายในการส่งเสริมและสนับสนุนและมองถึงการจัดประชุมวิชาการครั้งนี้  เพื่อสร้าง Engaged Citizens  ในมหาวิทยาลัย ซึ่งหมายถึง ทั้งนักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัยด้วย โดยมีนโยบายในการให้บริการวิชาการแก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ดำเนินกิจกรรม ที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในหลายระดับ โดยนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ตลอดจนเทคโนโลยีที่พัฒนาโดยบุคลากรของมหาวิทยาลัยนำไปสู่การใช้งานจริง ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำสู่ภาคอุตสาหกรรมไปจนถึงปลูกจิตสำนึกให้บุคลากรเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน การสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน การพัฒนาและจัดทำระบบพันธกิจสัมพันธ์กับองค์กรชุมชน การพัฒนาบุคลากรด้านพันธกิจสัมพันธ์และกิจการเพื่อสังคม ขับเคลื่อน พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมให้เกิดความเข้มแข็ง

.

ด้าน นายภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และ นางสาวลดาวัลย์ ช่วยชาติ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตรัง ยังกล่าวอีกว่า จังหวัดตรังรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งในการร่วมเป็นเจ้าภาพต้อนรับ นักวิจัยจากทั่วประเทศ โดยมีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดตรังให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังถือเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ดีให้กับจังหวัดตรังเพื่อให้จังหวัดตรังเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยถือว่ากลุ่มนักวิจัยผู้ร่วมงานเป็นกลุ่มที่มีกำลัง และความสามรถโดยมุ่งหวังให้เป็นกระบอกเสียงในการเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับจังหวัดตรัง

.

รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ ในฐานะตัวแทนเครือข่ายมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ 12  แห่ง ที่ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 8 (The 8 th Engagement Thailand Annual Conference 2022)  แสดงถึงความพร้อมในการร่วมหนุนเสริมและสนับสนุนการจัดการประชุม มองประเด็นความเปลี่ยนแปลงของการทำงานเป็นเครือข่าย เป็นโอกาสดี เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง มีความโดดเด่นที่แต่งต่างกัน และนำเอาความแตกต่างมาพัฒนาชุมชนเป็นประโยชน์กับนักศึกษาและชุมชนอย่างยั่งยืน

.

จากนั้น นายบรรจง นฤพรเมธี  ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ยังกล่าวด้วยว่า การบริการวิชาการ เกิดการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดกิจกรรมการพัฒนา สร้างกระบวนการเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่ชุมชน ภายใต้การมีส่วนร่วมที่ดีของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระหว่างมหาวิทยาลัยด้วยกันเองและระหว่างมหาวิทยาลัยกับ หน่วยงานภายนอกที่มุ่งเน้นประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้ ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและเสริมสร้างการ พัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่อง

Like: 

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดประชุมชี้แจงการเปิดรับข้อเสนอการวิจัยจากงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประเภททุนวิจัยพื้นฐาน (Basic Research Fund) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 และทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้เปิดการประชุมและบรรยายรายละเอียดการรับข้อเสนอการวิจัยแต่ละกรอบทุน พร้อมด้วยบุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมชี้แจงการรับข้อเสนอการวิจัยและการพัฒนาข้อเสนอการวิจัยแก่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings

Like: 

วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 รศ.ดร.ชุตินุช สุจริต รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ภาคใต้ฝั่งอันดามัน(อพ.สธ.-มทร.ศรีวิชัย) นายเอกพจน์ แก่นเมือง และนางสาวอรวรรณ ชุ่มเขียว เข้าร่วมการประชุมกลุ่มสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ครั้งที่ 11 ทรัพยากรไทย: 30 ปี อพ.สธ. ประโยชน์แท้แก่มหาชน ระหว่างวันที่ 5 – 8 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุม 4 อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี ผศ.ดร.รุ่งรวี จิตภักดี รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน อพ.สธ-มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม ซึ่งศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ภาคใต้ฝั่งอันดามัน (อพ.สธ.-มทร.ศรีวิชัย) ได้นำสมาชิกภายใต้ความรับผิดชอบของศูนย์ฯ เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 6 หน่วยงานประกอบด้วย โรงเรียนวิเชียรมาตุ โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข โรงเรียนอบจ.บ้านตลาดเหนือ (วันครู 2502) โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน

Like: 

วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ เกิดปราง ประธานคณะกรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.ชุตินุช สุจริต เลขานุการคณะกรรมการ เข้าร่วมประชุม ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565 เพื่อรายงานผลการใช้หรือครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในแต่ละพื้นที่ และร่วมหารือการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานการใช้ห้องปฏิบัติการ BSL ของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings

Like: 

สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการพัฒนาบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดยมี ดร.วิกิจ ผินรับ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย เป็นประธานกล่าวเปิดการโครงการ และได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.การุณ ทองประจุแก้ว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ” ซึ่งการอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อพัฒนาบทความวิจัยของนักวิจัยให้เข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่ของวารสารระดับชาติและนานาชาติ และเป็นการเพิ่มผลงานตีพิมพ์บทความทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมทีอาร์ ร็อคฮิลล์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

          โครงการพัฒนาบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.สราวุธ จริตงาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ.ดร.ปิ่น จันจุฬา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ.ดร.เกษตรชัย และหีม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยากรด้านภาษา ดร.สมพร มณีโชติ ดร.กิตติมา ตันติหาชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย Mr.Lauro Sadaran Dequiña, Jr. จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่มาให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงต้นฉบับบทความแก่นักวิจัยของ มทร.ศรีวิชัย ให้มีความสมบูรณ์ และถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถ submit บทความลงในวารสารระดับชาติและนานาชาติได้

 

Like: 

Pages