วันที่ 8 มีนาคม 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย นำโดย รศ.ดร.ชุตินุช สุจริต รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี ประชุมชี้แจง เรื่อง “แนวทางการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย จากงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2567 และงบประมาณ FF ประจำปีงบประมาณ 2568” ตามประกาศรับข้อเสนอการวิจัยเพื่อพิจารณากลั่นกรองจัดสรรงบประมาณ เรื่อง "การเปิดรับข้อเสนอการวิจัยเพื่อเสนอของบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566" สำหรับนักวิจัยสายวิชาการ และนักวิจัยสายสนับสนุน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings

Like: 

วันที่ 2 มีนาคม 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย นำโดย รศ.ดร.ชุตินุช สุจริต รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดโครงการ “การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยสู่ความเป็นมืออาชีพ” ครั้งที่ 2 (วิจัยสถาบัน) ซึ่งมี ผศ.ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการและกล่าวต้อนรับวิทยากร โดยได้รับเกียรติจากคุณสวัสดิ์ วิชระโภชน์ นักวิชาการชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกองทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บรรยาย เรื่อง “การเหลาโจทย์จากงานประจำเพื่อทำวิจัย” และให้คำแนะนำ R2R Case – Concept proposal RUTS และการบรรยายเรื่อง “วิจัยสถาบันเพื่อการพัฒนางานประจำ” โดย รศ.ดร.ชุตินุช สุจริต ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมจำนวนมากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meetings

Like: 

สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการสร้างมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม และมี ผศ.ดร.สุดคนึง ณ ระนอง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมนครา 3 โรงแรมเรือรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง การจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สุภาภรณ์ สุดหนองบัว จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: จากหลักการสู่การปฏิบัติและการพัฒนาคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” การอบรมสร้างมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จัดขึ้นเพื่ออบรมให้คณะกรรมการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน หลักเกณฑ์ทางจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่เป็นสากล มีความเข้าใจในเชิงลึก เพื่อนำแนวปฏิบัติไปใช้ได้อย่างถูกต้อง อันจะนำไปสู่แนวทางการดำเนินงานการประเมินจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Like: 

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนา นำโดย ผศ.ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าร่วมกิจกรรมการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย “สินค้าพริกไทยตรัง” โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานพาณิชย์จังหวัดตรังร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลนีราชมงคลศรีวิชัย ณ โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา จังหวัดตรัง

โดย “พริกไทยตรัง” ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัดตรัง จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสินค้ามีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน ซึ่งในจังหวัดตรังมีเกษตรกรที่สนใจปลูกพริกไทยตรังกว่า 100 ราย โดยเกษตรกรมีความสนใจจะดำเนินการจดทะเบียนพริกไทยตรังของตนเองให้ได้รับตราสัญลักษณ์สินค้า GI สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นนั้น มีการชี้แจงการดำเนินงานโครงการ อาทิ การอธิบายขั้นตอนวิธีการดำเนินงานในการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การตรวจประเมินผู้ผลิต ผู้ประกอบการค้า เพื่อขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การนำเสนอคำสั่งคณะกรรมการผู้มีหน้าที่ตรวจสอบสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การนำเสนอคู่มือปฏิบัติงานสำหรับสมาชิกผู้ขอใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และแผนการควบคุมสินค้าตรวจสอบสินค้า พร้อมเปิดรับสมัครผู้ผลิต ผู้ประกอบการค้า ที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้อนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สินค้าพริกไทยตรัง” ทั้งนี้ในระยะถัดไป ทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัดตรัง จะเข้าไปช่วยส่งเสริมประชาสัมพันธ์ ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้สู่ชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของจังหวัดตรัง

Like: 

วันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนา นำโดย รศ.ดร.ชุตินุช สุจริต รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดโครงการ “การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยสู่ความเป็นมืออาชีพ” ครั้งที่ 1  โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการและกล่าวต้อนรับวิทยากร ณ ห้องประชุมเทพทาโร โรงแรมบุรีศรีภู คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้

- บรรยายเรื่อง “ทิศทางการขับเคลื่อนพันธกิจวิจัย มทร.ศรีวิชัย ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัย 5 ปีระยะที่ 2” โดย ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ 

- บรรยายเรื่อง “แนวทางการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย (Research Utilization) สู่เชิงพาณิชย์” ผศ.ดร.นุกูล อินทระสังขา ผู้อำนวยการสำนักบ่มเพาะวิชาการเพื่อวิสาหกิจในชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ

- บรรยายเรื่อง “การเขียนข้อเสนอการวิจัยให้ ปัง ปัง แหล่งทุน” โดย รศ.ดร.สรรพสิทธิ์ กล่อมเกล้า คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ

- การแบ่งกลุ่ม Work shop จัดทำ Full proposal สำหรับเสนอขอรับทุน โดย รศ.ดร.รุ่งรวี จิตภักดี ผู้อำนวยการอุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, รศ.ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, รศ.ดร.สรรพสิทธิ์ กล่อมเกล้า คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ และ รศ.ดร.สราวุธ จริตงาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม เพื่อเป็นการพัฒนา Concept Proposal เป็น Full Proposal สำหรับยื่นเสนอขอรับทุนสนับสนุนงานวิจัยทั้งงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัยและ งบประมาณกองทุนส่งเสริม ววน. ซึ่งการจัดโครงการครั้งนี้มีนักวิจัยสนใจเข้าร่วมมากกว่า 100  ท่าน

Like: 

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมอาคารพันตรีเพียร จรรย์สืบศรี มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ผศ.โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง ประธานการเปิดโครงการ "ฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" ดร.วิกิจ ผินรับ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาฝ่ายสารสนเทศการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในนามฝ่ายประสานและจัดการฝึกอบรม กล่าวว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการ ฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร 5 องค์ประกอบจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-24 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวการสนองพระราชดำริ การบริหารและการจัดการการดำเนินงาน หลักสูตร 5 องค์ประกอบ ซึ่งมีหน่วยงานจากสถานศึกษา จำนวน 11 หน่วยงาน เข้าร่วมการฝึกอบรม โดยได้รับเกียรติจาก คุณมรกต วัชรมุสิก วิทยากรจาก อพ.สธ. (สำนักพระราชวัง) และ ทีมวิทยากรศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย และการปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการ รวมทั้งการสรุปผลและนำเสนอผลการปฏิบัติการ และสามารถนำความรู้สู่การสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ และการพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ในสถานศึกษาที่รับผิดชอบ ตลอดจนการนำไปสู่การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรท้องถิ่น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Like: 

Pages

1 2 3 4 5 6 7 8 9 next › last »